วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ทักษะการเล่นแบดมินตัน
ทักษะการเล่นแบดมินตัน
การจับไม้แบดมินตัน
ก่อนที่จะเรียนรู้ถึงทักษะการเล่นกีฬาแบดมินตันใด ๆ ผู้เรียนจะต้องจับไม้แบดมินตันให้ถูกวิธีเสียก่อน วิธีการคือ ผู้ที่ถนัดมือขวาก็ใช้มือขวาจับโดยยื่นมือขวาออกไปข้างหน้าเหมือนกับการจับมือกับบุคคลอื่นที่ถูกแนะนำให้รู้จักโดยให้นิ้วทั้ง 4 กำรอบด้ามไม้แบดมินตัน นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จะอยู่ตรงด้านสันของด้ามไม้แบดมินตันเป็นรูปตัว วี โดยตำแหน่งนิ้วหัวแม่มือจะทาบอยู่ทางด้านแบนของด้ามไม้แบดมินตัน
การจับลูกแบดมินตัน
เมื่อรู้ถึงวิธีการจับไม้แล้วต่อไปก็ต้องรู้ถึงการจับลูกขนไก่ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประกอบการเล่นกีฬแบดมินตัน การจับลูกขนไก่มีความสำคัญอย่างมากในการเสิร์ฟลูก
การจับลูกขนไก่ที่นิยมกันมี3วิธีคือ
นักเล่นหัดเล่นใหม่ตีลูกไปสักพักหนึ่ง ก็จะเริ่มฉุกคิดขึ้นมาว่าทำไมการตีลูกของตนจึงไม่มีแรงส่งอย่างใจนึก เหวี่ยงแร็กเก็ตหวดตีลูกเต็มแรงแล้วลูกยังไปไม่ถึงหลังให้เรามาช่วยกันคิดดูว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบก็คือ การตีลูกในกีฬาแบดมินตัน ไม่เหมือนการตีลูกเทนนิสหรือสคว๊อชเพราะลูกขนไก่มีน้ำหนักเบาการตีลูกขนไก่ให้พุ่งไปข้างหน้าอย่างแรง จึงต้องอาศัยจังหวะที่สมบูรณ์ผสมผสานกันของแรงเหวี่ยงที่มาจากแหล่งต่าง ๆ ของแรงตีลูกแหล่งที่มาของแรงตีลูกจำแนกออกได้จาก 3 แหล่งใหญ่ คือ
กีฬาแบดมินตัน เป็นเกมส์ที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายต้องมีการเคลื่อนย้ายตัววิ่งไล่ตีลูกตลอดเวลาผู้เล่นจึงต้องรู้จักการวิ่งเข้าออก การประชิดลูกในจังหวะที่ถูกต้อง เคลื่อนย้ายตัวเองไปอยู่ในจุดที่ถูกต้อง ตีลูกได้ถนัด ตีด้วยความสะดวก ตีลูกด้วยความง่ายดาย และสิ้นเปลืองพลังงานให้น้อยที่สุด
ฟุตเวิร์ค หรือจังหวะเท้าสำหรับการเล่นแบดมินตันมีความสำคัญมากที่สุด ฟุตเวิร์คที่ดีจะทำให้การออกตัวสืบเท้า พาตัวพุ่งไปสู่ทิศทางต่าง ๆ รอบสนามกระทำได้ด้วยความคล่องแคล่วและฉับไวเพราะหลักการสำคัญที่สุดในกีฬาแบดมินตันสำหรับผู้เล่นทุกคนที่เล่นเพื่อความเป็นเลิศในระดับแข่งขัน จะต้องจำไว้ให้แม่นก็คือ
- จะต้องวิ่งเข้าไปหาลูกเสมอ อย่าทิ้งช่วงปล่อยให้ลูกวิ่งมาหา
- จะต้องพุ่งตัวเข้าตีลูกให้เร็วที่สุด และตีลูกขณะที่อยู่ในระดับที่สูงที่สุด
เพราะฉะนั้นในเกมการเล่นแบดมินตันการคาดคะเน(Anticipation)เป้าหมายการตี กับวิธีทางตีลูกของฝ่ายตรงข้าม จึงจำเป็นต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ บางครั้งยังต้องใช้เทคนิคการ “ดักลูก”เข้ามาช่วยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นประเภทคู่จะต้องอาศัยการจับทางของคู่ต่อสู้ให้ได้มากที่สุด เพื่อการพุ่งเข้าประชิดตีลูกในระดับบนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้การตีลูกในระดับที่สูง จะทำให้ผู้เล่นมีโอกาส “กดลูก” บีบเกมเล่นให้ฝ่ายตรงข้ามต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับ อีกทั้งยังมี “มุมลึก” กับ“เป้าหมาย” สำหรับการตีลูกได้มากขึ้น ยิ่งตีลูกจากระดับสูงได้มากเท่าใดย่อมจะมี “มุมลึก” ของเป้าหมายได้มากเท่านั้น เช่นการกระโดดตบพร้อมทั้งใช้ข้อมือตวัดตีลูกจิก จะทำให้ลูกสามารถข้ามไปในมุมที่ลึกกว่าการตบลูกจากระดับธรรมดา ถ้าทำอย่างนี้ได้ จะทำให้ลูกที่ตีข้ามไปนั้นเกิดวิถีลูกที่ข้ามไปหลากหลาย ทำให้คู่ต่อสู้เดาการเล่นของเราไม่ถูก หรือคาด การณ์ออกว่าเราจะส่งลูกไปในลักษณะใด
ฟุตเวิร์ค จังหวะเท้าที่ดี เริ่มต้นที่ผู้เล่นทิ้งน้ำหนักตัวบนปลายเท้าทั้งสอง หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ไม่ควรยืนด้วยการทิ้งน้ำหนักตัวบนแผ่นเท้าทั้งสอง ในขณะที่ยืนปลายเท้า ควรวางเท้าทั้งสองแยกจากกันเล็กน้อยตามถนัด การยืนในลักษณะนี้ทำให้ผู้เล่นพร้อมที่จะพุ่งตัวออกจากจุดศูนย์กลางอย่างฉับไว การพุ่งออกไปไม่ว่าจะไปทางด้านหน้า ด้านหน้าซ้ายขวา ด้านข้างซ้ายขวาหรือด้านหลัง หรือหลังซ้ายขวา ผู้เล่นสามารถเคลื่อนย้ายตัวไปครอบคลุมพื้นที่สนามได้ทั้งหมดจังหวะเท้าอาจจะซอยถี่ เป็นช่วงสั้น หรือยาวตามแต่สถานการณ์ ในกรณีที่ต้องวิ่งในระยะทางไกลควรสาวเท้าเก้ายาว เมื่อถึงจังหวะที่จะเข้าประชิดลูกก็อาจจะซอยฟุตเวิร์คสั้นลงเพื่อเสาะหาจังหวะการตีลูกให้กับตัวตามถนัด
การสืบเท้าเข้าประชิดลูกไม่ว่าเป็นก้าวสั้นหรือก้าวยาว ควรจะพาตัวเข้าใกล้ลูกในระยะใด ผู้เล่นควรคำนึงถึงความจริงว่า ถ้าลูกห่างไกลจากตัวมาก ผู้เล่นจะเอื้อมตีลูกด้วยความลำบาก แรงที่ส่งมาจากแหล่งต่าง ๆ ของการตีลูกไม่มีโอกาสได้รวมพลังใช้อย่างเต็มที่ในทำนองเดียวกัน ถ้าลูกประชิดในระยะใกล้เกินไป วงสะวิงของการเหวี่ยงตีลูกแคบแขนติดที่ช่วงไหล่ ก็จะทำให้แรงตีลูกไม่สามารถนำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน ระยะห่างจากตัวผู้เล่นในขณะที่เล่นควรจะอยู่ในระหว่าง 2-3 ฟุตจากลำตัวเป็นระยะที่กว้างพอสำหรับการตีลูกได้อย่างถนัดและเต็มเหนี่ยว
ฟุตเวิร์ค หรือจังหวะเท้า จะวางอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องไม่ลืมการตีลูกเบสิคพื้นฐาน ลูกหน้ามือ เท้าซ้ายอยู่หน้า เท้าขวาอยู่หลัง และลูกหลังมือ เท้าขวาจะอู่หน้า เท้าซ้ายจะอยู่หลัง (สำหรับผู้เล่นที่ถนัดขวาถ้าถนัดซ้ายก็สลับกัน) ฝึกฟุตเวิร์คจังหวะเท้าไปสักพักใหญ่ ๆ ทุกอย่างจะดำเนินไปโดยธรรมชาติ ผู้เล่นจะไม่คำนึงหรือกังวลเรื่องของฟุตเวิร์คอีกเลย
ทักษะการตีลูก
ลูกโยน(Lob or Clear)
ก่อนที่จะเรียนรู้ถึงทักษะการเล่นกีฬาแบดมินตันใด ๆ ผู้เรียนจะต้องจับไม้แบดมินตันให้ถูกวิธีเสียก่อน วิธีการคือ ผู้ที่ถนัดมือขวาก็ใช้มือขวาจับโดยยื่นมือขวาออกไปข้างหน้าเหมือนกับการจับมือกับบุคคลอื่นที่ถูกแนะนำให้รู้จักโดยให้นิ้วทั้ง 4 กำรอบด้ามไม้แบดมินตัน นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จะอยู่ตรงด้านสันของด้ามไม้แบดมินตันเป็นรูปตัว วี โดยตำแหน่งนิ้วหัวแม่มือจะทาบอยู่ทางด้านแบนของด้ามไม้แบดมินตัน
การจับลูกแบดมินตัน
เมื่อรู้ถึงวิธีการจับไม้แล้วต่อไปก็ต้องรู้ถึงการจับลูกขนไก่ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประกอบการเล่นกีฬแบดมินตัน การจับลูกขนไก่มีความสำคัญอย่างมากในการเสิร์ฟลูก
การจับลูกขนไก่ที่นิยมกันมี3วิธีคือ
การส่งลูก
การส่งลูกเป็นวิธีการของการเริ่มเล่นในการเล่นหรือฝึกทักษะแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเริ่มฝึกตีลูกแบบต่าง ๆ ตลอดจนเริ่มการแข่งขัน การส่งลูกจะส่งได้ทั้งลูกหน้ามือและหลังมือซึ่งวิธีการส่งมีดังนี้
การส่งลูกหน้ามือ
ผู้ที่จะส่งลูกจะยืนห่างจากเส้นกลางสนามและเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2-3 นิ้ว(ในกรณีเล่นประเภทคู่) และยืนห่างเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2-3 ฟุต(ในกรณีเล่นประเภทคู่)
ยืนให้เท้าช้ายอยู่ข้างหน้าสำหรับผู้ที่ถนัดมือขวา ย่อเข่าเล็กน้อย เท้าทั้งสองข้างจะไม่ยกพ้นพื้นสนามเวลาส่งลูก
ใช้มือซ้ายจับลูกขนไก่ งอแขนพอประมาณ มือขวาเงื้อไม้ระดับเอวพร้อมที่จะส่งลูก
ตามองเป้าหมายที่จะส่งลูก ปลอยลูก พร้อมกับตวัดแขนมาข้างหน้าเมื่อไม้สัมผัสกับลูกให้กระดกข้อมือช่วยส่งลูก ไปยังทิศทางที่ต้องการ
การส่งลูกหลังมือ
ผู้ที่จะส่งลูกจะยืนห่างจากเส้นกลางสนามและเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2-3 นิ้ว
ยืนให้เท้าขวาอยู่ข้างหน้าสำหรับผู้ที่ถนัดมือขวา ย่อเข่าเล็กน้อย เท้าทั้งสองข้างจะไม่ยกพ้นพื้นสนามเวลาส่งลูก
ใช้มือซ้ายจับลูกขนไก่ บริเวณปลายขนไก่ทางด้านซ้ายของลำตัวหลังมือด้านขวาอยู่ด้าน หน้า งอแขนพอประมาณ มือขวาเงื้อไม้ระดับเอวพร้อมที่จะส่งลูก
ตามองเป้าหมายที่จะส่งลูก ปลอยลูก พร้อมกับตวัดแขนมาข้างหน้าเมื่อไม้สัมผัสกับลูกให้กระดกข้อมือช่วยส่งลูก ไปยังทิศทางที่ต้องการ
นักเล่นหัดเล่นใหม่ตีลูกไปสักพักหนึ่ง ก็จะเริ่มฉุกคิดขึ้นมาว่าทำไมการตีลูกของตนจึงไม่มีแรงส่งอย่างใจนึก เหวี่ยงแร็กเก็ตหวดตีลูกเต็มแรงแล้วลูกยังไปไม่ถึงหลังให้เรามาช่วยกันคิดดูว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบก็คือ การตีลูกในกีฬาแบดมินตัน ไม่เหมือนการตีลูกเทนนิสหรือสคว๊อชเพราะลูกขนไก่มีน้ำหนักเบาการตีลูกขนไก่ให้พุ่งไปข้างหน้าอย่างแรง จึงต้องอาศัยจังหวะที่สมบูรณ์ผสมผสานกันของแรงเหวี่ยงที่มาจากแหล่งต่าง ๆ ของแรงตีลูกแหล่งที่มาของแรงตีลูกจำแนกออกได้จาก 3 แหล่งใหญ่ คือ
แรงที่เกิดจากการถ่ายเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า
แรงที่เกิดจากการเหวี่ยงของลำแขน
แรงที่เกิดจากการตวัดและการสะบัดอย่างแรงของข้อมือ
การตีลูกให้แรงในกีฬาแบดมินตันนั้น จะต้องเกิดจากจังหวะการประสานงานระหว่างแรงเหวี่ยงตีลูกของแขน เสริมด้วยแรงตวัดและแรงสะบัดของข้อมือ หนุนด้วยแรงที่เกิดจากการเปลี่ยนน้ำหนักตัวของฟุตเวิร์ค จากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า ที่ผสมผสานกลมกลืนกัน ถ้าการประสานงานขององค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานี้เกิดผิดจังหวะในช่วงใดช่วงหนึ่ง การตีลูกจะมีผลที่ไม่สมบูรณ์ ลูกที่พุ่งจากหน้าแร็กเก็ตจะไม่แรงตามต้องการ แรงดีดสะบัดของข้อมือ มีช่วงเวลาของการดีดลูกตวัดสั้นกว่าการเหวี่ยงตีลูกด้วยลำแขน แรงที่เกิดการดีด ตวัดและสะบัดของข้อมือนี้จึงมีช่วงเวลาจำกัด แรงตีลูกที่ว่านี้จึงต้องนำออกใช้ในเสี้ยววินาทีที่ถูกต้อง ไม่ก่อนหรือหลังเกินไปในจังหวะที่แร็กเก็ตกระทบตีถูกลูกขนไก่ แรงดีด ตวัด และสะบัดของข้อมือ นอกจากใช้เสริมแรงตีลูกในวินาทีที่ถูกต้องแล้ว ยังมีบทบาทในการบังคับทิศทางวิ่งของลูกขนไก่ไปสู่เป้าหมายต่าง ๆ ได้หลากหลาย ความเร็วที่เกิดจากการดีด ตวัด สะบัด และพลิกข้อมือ สามารถทำให้คู่แข่งไม่อาจจับทางของลูกที่พุ่งข้ามตาข่ายไปได้ ยากแก่ฝ่ายตรงข้ามในการเดาเป้าหมายของลูกเพื่อการตีลูกที่เกิดจากแรงเหวี่ยงสมบูรณ์แบบ ผู้เล่นควรเริ่มต้นที่ฟุตเวิร์คก่อน สำหรับคนถนัดขวา ก่อนการตีลูกน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวาหลัง ในช่วงที่กำลังจะตีลูกน้ำหนักตัวจะเริ่มถ่ายไปสู่เท้าซ้ายหน้า การเปลี่ยนถ่ายน้ำหนักตัวนี้จะดำเนินไปพร้อมกับแรงตีลูก ที่มาอีก 2 แหล่งคือการเหวี่ยง และการดีดตวัดสะบัดข้อมือให้กลมกลืนเป็นจังหวะเดียวกัน เมื่อเหวี่ยงตีลูกไปแล้ว แรงตีลูกได้ถูกนำออกใช้ได้ทั้งหมดเป็นแรงตีลูกในครั้งเดียวจะเกิดวงสะวิงของแร็กเก็ตหรือเรียกว่าFollow Throughให้เป็นไปตามธรรมชาติ การพยายามฝืนวงสะวิงด้วยการกระชากแร็กเก็ตกลับเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่แขนหรือที่หัวไหล่ได้การฝึกหัดตีลูกในขั้นต้นนั้นควรฝึกตีเฉพาะลูกโด่งเหนือศีรษะเพราะเป็นลูกเบสิคที่ตี ได้ง่าย เหวี่ยงตีตามถนัดฝึกฝนให้มาก ๆ จนเกิดความแม่นยำจับจังหวะการเหวี่ยงตีและการใช้แรงจากแหล่งของการตีลูกต่
ฟุตเวิร์คกับจังหวะของการตีลูกกีฬาแบดมินตัน เป็นเกมส์ที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายต้องมีการเคลื่อนย้ายตัววิ่งไล่ตีลูกตลอดเวลาผู้เล่นจึงต้องรู้จักการวิ่งเข้าออก การประชิดลูกในจังหวะที่ถูกต้อง เคลื่อนย้ายตัวเองไปอยู่ในจุดที่ถูกต้อง ตีลูกได้ถนัด ตีด้วยความสะดวก ตีลูกด้วยความง่ายดาย และสิ้นเปลืองพลังงานให้น้อยที่สุด
ฟุตเวิร์ค หรือจังหวะเท้าสำหรับการเล่นแบดมินตันมีความสำคัญมากที่สุด ฟุตเวิร์คที่ดีจะทำให้การออกตัวสืบเท้า พาตัวพุ่งไปสู่ทิศทางต่าง ๆ รอบสนามกระทำได้ด้วยความคล่องแคล่วและฉับไวเพราะหลักการสำคัญที่สุดในกีฬาแบดมินตันสำหรับผู้เล่นทุกคนที่เล่นเพื่อความเป็นเลิศในระดับแข่งขัน จะต้องจำไว้ให้แม่นก็คือ
- จะต้องวิ่งเข้าไปหาลูกเสมอ อย่าทิ้งช่วงปล่อยให้ลูกวิ่งมาหา
- จะต้องพุ่งตัวเข้าตีลูกให้เร็วที่สุด และตีลูกขณะที่อยู่ในระดับที่สูงที่สุด
เพราะฉะนั้นในเกมการเล่นแบดมินตันการคาดคะเน(Anticipation)เป้าหมายการตี กับวิธีทางตีลูกของฝ่ายตรงข้าม จึงจำเป็นต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ บางครั้งยังต้องใช้เทคนิคการ “ดักลูก”เข้ามาช่วยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นประเภทคู่จะต้องอาศัยการจับทางของคู่ต่อสู้ให้ได้มากที่สุด เพื่อการพุ่งเข้าประชิดตีลูกในระดับบนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้การตีลูกในระดับที่สูง จะทำให้ผู้เล่นมีโอกาส “กดลูก” บีบเกมเล่นให้ฝ่ายตรงข้ามต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับ อีกทั้งยังมี “มุมลึก” กับ“เป้าหมาย” สำหรับการตีลูกได้มากขึ้น ยิ่งตีลูกจากระดับสูงได้มากเท่าใดย่อมจะมี “มุมลึก” ของเป้าหมายได้มากเท่านั้น เช่นการกระโดดตบพร้อมทั้งใช้ข้อมือตวัดตีลูกจิก จะทำให้ลูกสามารถข้ามไปในมุมที่ลึกกว่าการตบลูกจากระดับธรรมดา ถ้าทำอย่างนี้ได้ จะทำให้ลูกที่ตีข้ามไปนั้นเกิดวิถีลูกที่ข้ามไปหลากหลาย ทำให้คู่ต่อสู้เดาการเล่นของเราไม่ถูก หรือคาด การณ์ออกว่าเราจะส่งลูกไปในลักษณะใด
ฟุตเวิร์ค จังหวะเท้าที่ดี เริ่มต้นที่ผู้เล่นทิ้งน้ำหนักตัวบนปลายเท้าทั้งสอง หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ไม่ควรยืนด้วยการทิ้งน้ำหนักตัวบนแผ่นเท้าทั้งสอง ในขณะที่ยืนปลายเท้า ควรวางเท้าทั้งสองแยกจากกันเล็กน้อยตามถนัด การยืนในลักษณะนี้ทำให้ผู้เล่นพร้อมที่จะพุ่งตัวออกจากจุดศูนย์กลางอย่างฉับไว การพุ่งออกไปไม่ว่าจะไปทางด้านหน้า ด้านหน้าซ้ายขวา ด้านข้างซ้ายขวาหรือด้านหลัง หรือหลังซ้ายขวา ผู้เล่นสามารถเคลื่อนย้ายตัวไปครอบคลุมพื้นที่สนามได้ทั้งหมดจังหวะเท้าอาจจะซอยถี่ เป็นช่วงสั้น หรือยาวตามแต่สถานการณ์ ในกรณีที่ต้องวิ่งในระยะทางไกลควรสาวเท้าเก้ายาว เมื่อถึงจังหวะที่จะเข้าประชิดลูกก็อาจจะซอยฟุตเวิร์คสั้นลงเพื่อเสาะหาจังหวะการตีลูกให้กับตัวตามถนัด
การสืบเท้าเข้าประชิดลูกไม่ว่าเป็นก้าวสั้นหรือก้าวยาว ควรจะพาตัวเข้าใกล้ลูกในระยะใด ผู้เล่นควรคำนึงถึงความจริงว่า ถ้าลูกห่างไกลจากตัวมาก ผู้เล่นจะเอื้อมตีลูกด้วยความลำบาก แรงที่ส่งมาจากแหล่งต่าง ๆ ของการตีลูกไม่มีโอกาสได้รวมพลังใช้อย่างเต็มที่ในทำนองเดียวกัน ถ้าลูกประชิดในระยะใกล้เกินไป วงสะวิงของการเหวี่ยงตีลูกแคบแขนติดที่ช่วงไหล่ ก็จะทำให้แรงตีลูกไม่สามารถนำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน ระยะห่างจากตัวผู้เล่นในขณะที่เล่นควรจะอยู่ในระหว่าง 2-3 ฟุตจากลำตัวเป็นระยะที่กว้างพอสำหรับการตีลูกได้อย่างถนัดและเต็มเหนี่ยว
ฟุตเวิร์ค หรือจังหวะเท้า จะวางอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องไม่ลืมการตีลูกเบสิคพื้นฐาน ลูกหน้ามือ เท้าซ้ายอยู่หน้า เท้าขวาอยู่หลัง และลูกหลังมือ เท้าขวาจะอู่หน้า เท้าซ้ายจะอยู่หลัง (สำหรับผู้เล่นที่ถนัดขวาถ้าถนัดซ้ายก็สลับกัน) ฝึกฟุตเวิร์คจังหวะเท้าไปสักพักใหญ่ ๆ ทุกอย่างจะดำเนินไปโดยธรรมชาติ ผู้เล่นจะไม่คำนึงหรือกังวลเรื่องของฟุตเวิร์คอีกเลย
ทักษะการตีลูก
ลูกหลักอันเป็นแม่บทของการเล่นแบดมินตัน แต่ละจำพวกของการตีลูกที่กล่าวมานี้ จะมีวิธีการตี การวางเท้าฟุตเวิร์ค กับจังหวะการตีลูกที่แตกต่างกัน ผู้เล่นที่ชำนาญแล้ว จะสามารถตีและบังคับลูก 4 จำพวกนี้ให้ข้ามตาข่ายไปด้วยความหลากหลาย อาจจะมีความแตกต่างกันในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น วิถี ความเร็ว ความยาว ความกว้าง ความสูง ความลึก การฉีกมุม ความหนักแรง เบา ความเฉียบคม ถ้าทำอย่างนี้ได้และสามารถนำเอาความหลากหลายไปใช้ในสถานการณ์ที่ถูกต้องนั่นคือศิลปะสุดยอดของการเล่นกีฬาแบดมินตันที่จะยังผลให้ผลให้ผู้เล่นมีสไตล์หลากหลายของการตีลูก ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งคิดไม่ถึง เดาไม่ออกว่าเราจะส่งลูกข้ามไปในลักษณะใด แต่ละลูกที่ข้ามไปนั้น ล้วนแต่แฝงไปด้วยอัตราส่วนแห่งการหลอล่อ แฝงอยู่ในตัวอย่างมีประสิทธิผล สร้างแบบฉบับเกมการเล่นแบดมินตันของตนเองให้เข้มแข็ง มีสไตล์การเล่นเชิงรุก ดุดัน ยากแก่การพ่ายแพ้
ลูกโยน(Lob or Clear)
คือ ลูกที่ตีพุ่งโด่งข้ามไปในระดับสูง และย้อยตกลงมาในมุม 90 องศาในแดนตรงกันข้ามเป็นลูกที่ตีจากเหนือศีรษะ หรือ ลูกที่งัดจากล่างก็ได้ ตีได้ทั้งหน้ามือ โฟร์แฮนด์ และหลังมือ แบ็คแฮนด์
ลูกโยน เป็นลูกเบสิคพื้นฐาน นักเล่นหัดใหม่จะเริ่มจากการหัดตีลูกโยน จึงเป็นลูกเบสิคที่สุดในกีฬาแบดมินตัน มองเผิน ๆ แล้วส่านมากจะคิดว่า ลูกโยนที่เป็นลูกที่ใช้สำหรับการแก้สถานการณ์ โยนลูกข้ามไปสูงโด่งมากเท่าใด ก็จะมีเวลาสำหรับการกลับทรงตัวของผู้เล่นมากเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ลูกโยนอาจจะใช้สำหรับเป็นการเล่นในเชิงรุกก็ได้เช่น การตีลูกโยนแบบพุ่งเร็วจี้ไปยังมุมหลังทั้งสองด้าน จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามตกเป็นฝ่ายรับถ้าอยู่ในสถานการณ์เสียหลักจวนตัว จะทำให้การแก้ไขกลับการทรงตัวได้ยากยิ่งขึ้น
ลูกโยน มีจังหวะการตีคล้ายคลึงกับการตบ แต่ไม่ต้องใช้แรงกดมากเท่า แทนที่จะตีกดลูกต่ำกลับเป็นการตีเสยลูกให้พุ่งโด่งขึ้นไปด้านบนสุด สุดแท้แต่ว่าผู้เล่นจะบังคับให้ลูกพุ่งข้ามไปในระดับวิถี ความเร็วตามต้องการลูกโยนที่ข้ามไปอย่างสมบูรณ์แบบ จะต้องมีแรงวิ่งไกลถึงสุดสนามตรงข้าม และต้องไม่ดาดจนคู่แข่งสามารถดักตะปบตีลูกได้ครึ่งทาง ลูกโยนที่ไม่ถึงหลัง หรือตีเข้าสู่มือคู่ต่อสู้ จะทำให้ฝ่ายเราเสียเปรียบ การตีลูกโยน ให้กลับไปดูบทก่อน ๆ ที่ว่าด้วยการตีลูกแรงของการตีลูก และจังหวะฟุตเวิร์คของการตีลูก ฝึกฝนให้ดีจนสามารถจับจังหวะการเหวี่ยงตีลูกโยนไปถึงด้านหลังของฝั่งตรงข้ามได้อย่างง่าย ๆและสบาย ๆ ในจังหวะ วิถี และระดับที่เราสามารถบังคับให้ลูกข้ามไปตามที่ต้องการ
ซูซี่ ซูซานติ แชมป์เปี้ยนโลกหญิงเดี่ยว และแชมป์เปี้ยนเหรียญทองโอลิมปิคหหญิงเดี่ยวคนแรกของโลกจากอินโดนีเ.ซีย มีโยนที่เล่นได้เยี่ยมสุดยอด ลูกโยนของเธอตีง่าย ๆ เนิบ ๆ แต่หนักแน่นและลึกถึงหลัง เธอสามารถตีป้อนโยนเข้ามุมหลังทั้งสองข้างได้ลึกและแม่นยำจึงทำให้เธอได้ครองความเป็นราชินีแห่งการเล่นเดี่ยวหญิงของโลกอย่างต่อเนื่องหลายปีด้วย
ลูกโยนอาจจะแบ่งออกมาได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ลูกโยนหน้ามือ
แรงที่ตีเกิดจากการประสานงานของแรงที่เหวี่ยง แรงตวัด การสะบัดของลำแขนข้อมือจังหวะฟุตเวิร์คที่ถูกต้อง บวกกับการเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า โดยที่แรงตีที่ผ่านแร็กเก็ตไปสัมผัสลูกในช่วงวินาทีที่ถูจังหวะจะโคน รวมแรงดีด ผลัก ดันให้ลูกพุ่งสูงโด่งไปยังสนามตรงข้าม ตามเป้าหมายที่ต้องการ
ลูกโยนหลังมือ
แรงตีเกิดจากการ ประสานงานเช่นเดียวกันกับ การตีลูกหน้ามือ แต่การวางฟุตเวิร์คสลับกันและไม่มีแรงที่โถมที่มาจากการเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า แรงตีลูกหลังมือเกือบทั้งหมดจึงมาจากแรงเหวี่ยง แรงตวัด และการสะบัดลำแขน กับข้อมือเท่านั้น โดยเหตุที่การตีลูกหลังมือ แหล่งที่มาของแรงตีลูกมีจำกัด แรงเหวี่ยง แรงตวัดของลำแขนที่มาจากหัวไหล่ กับแรงที่เกิดจากการสะบัดข้อมือ จึงจำเป็นต้องประสานงานสอดคล้องกันอย่างกลมกลืนเป็นจังหวะเดียวโดยทฤษฎีแล้ว ลูกหลังมือน่าจะเป็นลูกรับสำหรับแก้ไขสถานการณ์มากกว่าเป็นลูกบุกแต่ถ้าฝึกตีลูกให้แรงและมีความคล่องแคล่วชำนาญ จะกลายเป็นการตีลูกที่ผู้เล่นสามารถสร้างเขี้ยวเล็บให้แก่การตีลูกหลังมือของตนกลายเป็นการเล่นเชิงรุก ได้จังหวะของการดีด สะบัดข้อมือที่กระทำได้ในเสี้ยววินาทีกับแรงเหวี่ยงของแร็กเก็ตอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้เล่นสามารถพลิกโฉมจากการเกมรับเป็นเกมรุกได้ในบัดดล เพียงแต่บิดหน้าแร็กเก็ต เปลี่ยนจุดเป้าหมายการตี ลูกก็จะวิ่งไปอีกทางหนึ่ง ทำให้ผู้เล่นสามารถสร้างสัดส่วนของการเล่นลูกหลอก ได้อย่างแพรวพราวด้วยลูกหลังมือ ไม่ว่าจะเป็นลูกโยนหลังมือกระแทกไปมุมหนึ่งมุมใดของสองมุมหลัง หรือแตะหยอดด้วยหลังมือขนานเส้น หรือทแยงมุมก็สามารถจะทำได้
ลูกงัดโยน
คือการตีลูกโดยช้อนตวัดตีลูกจาก ล่างสะบัดขึ้นด้านบนเป็นการช้อนตีลูกจากต่ำไปสู่สูงเป็นที่ลูกที่ไม่ต้องใช้แรงเหวี่ยงตีมากเท่าไหร่ ใช้ข้อกระตุกหรือสะบัดลูกก็จะปลิวออกจากแร็กเก็ตอย่างง่ายดาย ส่วนมากจะเป็นลูกที่เข้าประชิดด้านหน้าของสนามเช่น การเข้ารับลูกแตะหยอดหรือลูกหยอดที่ฝ่ายตรงข้ามส่งข้ามมา หรือการรับลูกตบเป็นต้น
ลูกงัดใช้ตีได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ เป็นลูกที่ได้แรงตีมาจากการตวัด กระตุกหรือสะบัดของข้อมือมากกว่าแรงตีจากแหล่งอื่น การตีลูกงัดผู้เล่นต้องยืดแขนและตีลูกสุดช่วงแขน ลูกงัดบริเวณหน้าตาข่ายถ้าเข้าประชิดลูกได้เร็ว มีโอกาสตีลูกในระดับสูง จะใช้เป็นลูกหลอกล่อคู่ต่อสู้ด้วยการเล่นลูกสองจังหวะ เหยียดแขนยื่นแร็กเก็ตออกไป จะทิ้งเป็นลูกหยอดก็ได้ หรือจะกระแทกลูกไปด้านหลังของสนามตรงข้ามก็ได้ จะเป็นการเล่นลูกหลอกสองจังหวะท่ำคัญอีกลูกหนึ่งในเกมการเล่นแบดมินตันที่ผู้เล่นทุกคนจะมองข้ามไม่ได้
การงัดลูกแบ่งเป็นสองวิถีใหญ่ ๆ คือ การงัดลูกให้พ่งข้ามไปโดยไม่โด่งมากนัก ใช้เป็นการงัดลูกแบบรุก อีกวิถีหนึ่งคือการงัดลูกโด่งดึงให้คู่ต่อสู้ไปด้านหลังสนาม เพื่อให้เวลาสำหรับการกลับทรงตัวสู่จุดศูนย์กลางได้มากขึ้นฝึกหัดตีลูกโยนตามหลักวีธีที่แนะนำมาถึงขั้นตอนนี้ โปรดอย่าลืมหลักขั้นพื้นฐานที่ได้อธิบายไว้แล้วในบทก่อน ๆ ทุกครั้งที่ตีลูกนั้น จะต้องไม่ลืมหลักการตีลูกใหญ่ ๆดังนี้ คือ
หน้าแร็กเก็ตต้องตั้งให้ตรงขณะตีลูก
ขณะที่แร็กเก็ตสัมผัสกระทบตีลูกนั้นแขนทั้งสองของผู้เล่นจะต้องเหยียดตรงอยู่ในแนวตรงเสมอ
วิ่งเข้าไปหาลูกอย่ารอให้ลูกวิ่งเข้ามาหาเรา
4.เข้าประชิดลูกในระดับสูงที่สุดเท่าที่เราจะสามารถทำได้และ
5.ต้องรู้จักดักลูก และเข้าปะทะลูกเสมอ
ลูกตบ (Smash)
ในเกมแบดมินตัน ลูกตบเป็นลูกที่เด็ดขาดที่ตีจากเบื้องสูงกดลงสู่เป้าหมายให้พุ่งสู่พื้นในวิถีตรงที่รุนแรง และเร็วที่สุดเป็นลูกที่พุ่งไปสู่เป้าหมายด้วยความเร็วที่สุดสูงกว่าเกมเล่นอื่น ๆ ที่ใช้แร็กเก็ต เป็นลูกที่ใช้บีบบังคับให้คู่ต่อสู้ต้องตกเป็นฝ่ายรับ มีเวลาจำกัดสำหรับการเตรียมตัวตอบโต้ ลูกตบเป็นลูกฆ่า เป็นลูกทำแต้มที่ได้ผลถ้ารู้จักใช้อย่างถูกต้อง
ลูกตบใช้ในโอกาสต่าง ๆ คือ
เมื่อคู่ต่อสู้โยนลูกข้ามตาข่ายเพียงครึ่งสนามหรือส่งลูกมาไม่ถึงหลัง
เมือต้องการบีบให้คู่ต่อสู้เสียหลัก ผละออกจากจุดศูนย์กลาง
เมื่อต้องการให้คู่ต่อสู้กังวลใจ พะวงอยู่กับการตั้งรับ
เพื่อผลของการหลอกล่อ เมื่อคู่ต่อสู้เกิดความกังวลใจ ทำให้ประสิทธิผลของการใช้ลูกหลักอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น
เมื่อต้องการเผด็จศึกยุติการตอบโต้ หรือใช้เมื่อคู่ต่อสู้เผลอตัว หรือเสียหลักการทรงตัวบุกทำคะแนนด้วยลูกเด็ดขาด
วิถีทางที่ดีของลูกตบ
ลูกตบที่สมบูรณ์แบบ ต้องพุ่งจากแร็กเก็ตมีวิถีข้ามตาข่ายไปเป็นเส้นตรง พุ่งเฉียดผ่านตาข่ายโดยไม่เปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้ดักลูกสวนโต้กลับมาได้ ต้องพุ่งปักหัวไปยังแดนตรงข้ามด้วยความเร็วและรุนแรง โดยใช้แหล่งที่มาของการตีลูกทั้งหมดโถมใช้เสริมพลังในการตบลูก ความหนักหน่วงของลูกตบไม่ได้เกิดจากแรงตีที่ใช้อย่างหักโหมแต่ความเร็วกับความรุนแรงของลูกตบที่หนักหน่วงมาจากจังหวะการประสานงานอย่างกลมกลืนของจังหวะฟุตเวิร์ค การเหวี่ยงตีของแขนการตวัดของข้อมือเสริมด้วยแรงปะทะที่เกิดจากการเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า ลูกตบเป็นลูกที่กินแรงที่ใช้ไปนั้น คุ้มแก่การเสียแรง ถ้าลูกตบไปนั้นสามารถยุติการตอบโต้และทำคะแนนได้ แต่จะสูญเสียแรงเพิ่มเป็นทวีคูณถ้าฝ่ายตรงข้ามสามารถรับลูกตบกลับมายังมุมไกลห่างตัวผู้ตบ ทำให้ผู้ตบนอกจากสูญเสียแรงในการตบลูกแล้วยังต้องสูญเสียพลังงานในการวิ่งไล่ลูกอีกด้วยเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้เล่นควรฝึกการทรงตัวหลังตบลูกให้เร็วรู้จักปรับปรุงฟุตเวิร์คของตัวเองให้เบาที่สุดเพื่อประหยัดพลังงานในการตบลูกทุกครั้ง
การตบลูกไม่ควรตบข้ามไปในวิถีเดียว ควรบังคับให้ลูกตบข้ามไปในลักษณะต่างกันสั้นบ้างยาวบ้างสลับกันไปการตบลูกให้ข้ามไปในลักษณะช่วงสั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งโยนข้ามมาครึ่งสนาม หรือบางครั้งผู้เล่นที่มีรูปร่างสูงยาว อาจจะใช้การกระโดดตัวลอยจากพื้น เพื่อสร้างมุมตบลูกได้ในระดับสูง เพื่อปักหัวให้ลึกไปยังแดนตรงข้ามได้มากตามระดับที่ตัวเองสามารถกระโดดลอยตบลูกได้ซึ่งบางครั้งผู้ตบยังสามารถใช้ลูกท้อปสะปินหรือครึ่งตบครึ่งตัด สร้างลูกตบข้ามไปในวิถีประหลาด ๆ ยากแก่การเดาของคู่ต่อสู้ได้ การกระโดดถีบตัวขึ้นตบลูกนอกจากทำให้ผู้ตบตีลูกในระดับสูงได้ และทำให้มีมุมลึกในการตบลูกแล้ว บางครั้งยังใช้เป็นการหลอกล่อ คู่ต่อสู้ได้แทนที่จะตบลูกด้วยความรุนแรงเพียงอย่างเดียว อาจจะแตะหยอดสลับก็ได้ ทำให้เกิดความหลากหลายในการตีลูก
ลูกตบคร่อมศีรษะ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ลูกตบโอเวอร์เฮ็ด บางที่ก็เรียกว่าลูกตบอ้อมศีรษะ เป็นลูกที่ใช้เล่นแทนลูกหลังมือ หรือแบ็คแฮนด์กันบ่อยที่สุด ผู้เล่นที่ใช้สไตล์การเล่นแบบรุกจะนิยมใช้ลูกโยนหรือลูกตบคร่อมศีรษะกันมาก เพราะจู่โจมคู่ต่อสู้ได้ดีกว่า มีประสิทธิผลมากกว่าแทนการใช้ตีด้วยลูกหลังมือที่ต้องหันข้าง หรือหันหลังให้ตาข่ายกับคู่ต่อสู้ลูกคร่อมศีรษะ เป็นการตีลูกจากระดับสูง ผู้เล่นจึงมีโอกาสเลือกมุมกับเป้าหมายการตีได้กว้างกว่า เล็งกำหนดเป้าหมายให้เป็นลูกตบยาว หรือสั้นก็ได้ เป็นการตีลูกที่ผู้เล่นหันหน้าเข้าหาสนามคู่แข่งขัน การเคลื่อนไหวหรือตำแหน่งที่ยืนของคู่แข่งย่อมอยู่ในสายตาการกำหนดวางเป้าหมายย่อมกระทำได้ง่ายขึ้น เป้าหมายการตบลูกคร่อมศีรษะที่ใช้กันมาก และใช้ได้ผลมากที่สุด ได้แก่การตบขนานเส้นข้าง และการตบทแยงสนาม เพราะเป็นการตบลูกที่ทำให้คู่ต่อสู้เดาหรือคาดเดาหรือคาดคะเนได้ยาก ดูไม่ออกว่าเป้าหมายการตบนั้นจะพุ่งไปด้านซ้ายหรือด้านขวาของสนาม เป็นการตบตวัดลูกที่มีความเร็วในการเปลี่ยนทิศของเป้าหมาย ถ้าทำได้อย่างแนบเนียน จะสร้างความปั่นป่วนระส่ำระส่ายต่อฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมากการตบลูกขนานเส้นข้างมีแนวโน้มที่จะตบออกนอกเส้นได้ง่าย เพราะการจับแร็กเก็ตแบบตัว วี. หน้าแร็กเก็ตจะหันออกด้านซ้ายลูกที่ตบข้ามไปมักจะเฉ ออกทางด้านซ้ายของสนาม การเล็งเป้าหมายตบลูกจึงต้องเล็งเพื่อเข้ามาในสนามเล็กน้อย ในทำนองเดียวกัน การตบลูกขนานเส้นด้านขวาลูกที่ตบข้ามไปจะมีความแน่นอนมากกว่า เพราะวิถีของลูกจะมีแนวโน้มเฉเอียงเข้ามาในสนาม
การตบลูกทแยงสนาม ต้องตวัดลูกข้ามไปด้วยการพุ่งเร็ว และพึงระวังการดักลูก ของคู่ต่อสู้ การตบลูกทแยงสนามสามารถทำได้ทั้งสองด้านทั้งคร่อมศีรษะและด้านโฟร์แฮนด์จะเป็นลูกตบที่สร้างความลำบากใจแก่ฝ่าตรงข้ามเป็นอย่างมาก เพราะวิถีกับมุมของลูกตบที่ข้ามไปมีหลากหลาย ยากแก่การเดาและการคาดคะเนของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ก็เป็นลูกที่ข้ามตาข่ายอย่างเฉียดฉิว ง่ายแก่การตีติดตาข่ายถ้าการตบมีการกดลูกมากเกินไป
เป้าหมายการลูกตบแบ่งออกได้เป็น
ตบลูกห่างตัวผู้รับ
เป็นการตบลูกแบบเบสิคพื้นฐาน บีบบังคับให้คู่ต่อสู้ผละออกจากศูนย์กลางสนามเพื่อไปรับลูก ณ อีกจุดหนึ่ง ระหว่างที่ต้องเคลื่อนย้ายผละจากที่มั่นเดิม คู่แข่งอาจจะกระทำการผิดผลาดในจังหวะใดจังหวะหนึ่งยังผลให้การตีหรือการรับลูกกลับมาผิดพลาดสั้นไปหรือยาวเกินไป ทำให้เปิดโอกาสให้เราซ้ำเติมในลักษณะการรุกโจมตีซ้ำดาบสองได้ ในทำนองเดียวกัน การฉีกแยกคู่แข่งออกจากศูนย์กลาง ยอมทำให้อีกด้านหนึ่งของสนามเกิดช่องว่างมากขึ้น ทำให้เราสามารถตีโยกบีบให้อีกฝ่ายหนึ่งเกิดการเพลี่ยงพล้ำขึ้นได้โดยง่ายหรือบางครั้งอาจจะบีบให้ตีลูกเสียเองหรือเกิดUnforced Error อย่างคาดไม่ถึงก็ได้
ตบลูกพุ่งเข้าหาตัวผู้รับ
เป็นการตบลูกสวนทางกับหลักการเลือกเป้าหมายการตีลูกในเกมแบดมินตัน แต่อาศัยที่การตบลูกที่พุ่งเร็วและแรง การตบลูกพุ่งแรงเข้าหาตัวคู่ต่อสู้อาจจะทำให้เกิดความเพลี่ยงพล้ำอย่างง่าย ๆ ก็ได้ เพราะความเร็วกับความแรงของลูกทำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีเวลาสำหรับการเตรียมการตอบโต้ ยิ่งผู้เล่นที่อ่อนฟุตเวิร์คจัดจังหวะเท้าไม่ถูก จัดจังหวะเท้าไม่คล่องตัว ก็อาจจะเอี้ยวตัวหลบไม่ทัน เพื่อเปิดมุมสะวิงสำหรับเหวี่ยงตีลูกได้ถนัด หรือบางครั้งคาดไม่ถึงคิดว่าผู้ตบมีแนวโน้มที่จะกำหนดเป้าหมายการตบลูกไปอย่าง ส่วนว่างของสนามมากกว่าที่จะตบลูกพุ่งเข้ามาหาตัวก็ได้
ลูกดาด (Drive)
คือลูกที่พุ่งเฉียดข้ามตาข่าย มีวิถีพุ่งข้ามขนานไปกับพื้นสนาม ผู้เล่นตีลูกดาดสูงในระดับอก ตีได้ทั้งหน้ามือโฟร์แฮนด์ และหลังมือแบ็คแฮนด์ทั้งจากด้านซ้าย ขวาของลำตัวลูกดาดที่ตีจากระดับต่ำ ลูกที่ข้ามไปจะลอยสูงไม่ขนานกับพื้นสนาม มีแนวโน้มที่จะข้ามตาข่ายไปในลักษณะของลูกงัดโด่ง ลูกดาดใช้สำหรับสร้างสถานการณ์เป็นฝ่ายรุกโจมตี ไม่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายหนึ่งตอบโต้กลับมาได้ด้วยลูกตบเป็นลูกที่พุ่งข้ามตาข่ายด้วยความเร็วในวิถีตรงโดยที่ผู้เล่นสามารถวางเป้าหมายให้ลูกพุ่งไปสู่ทุกจุดของสนามตรงข้าม อาจเป็นลูกดาดสุดสนาม(ดูรูปที่หมายเลข 9) ดาดครึ่งสนาม(หมายเลข 3.) หรือตีเบา ๆ ให้กลายเป็นลูกแตะหยอด(หมายเลข 2.)
ลูกดาดใช้กันมากในประเภทคู่ เพราะลูกดาดรักษาความเป็นฝ่ายรุก หลีกเลี่ยงการส่งลูกโด่งเปิดโอกาสให้คู่แข่งใช้ตบได้อีกทั้งยังบีบบังคับให้คู่แข่งมีเวลาสำหรับการตีโต้กลับมาด้วยช่วงเวลาสั้นยิ่งถ้าคู่แข่งขันเสียหลักถลำไปอีกซีกหนึ่งของสนาม ลูกดาดที่พุ่งไปอีกด้านหนึ่งของสนาม จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถจะกลับตัวมาตีลูกได้ ในการเล่นประเภทคู่ ลูกดาดแทงครึ่งสนามยังใช้สำหรับหลบผ่านผู้เล่นที่อยู่ด้านหน้าของอีกฝ่ายหนึ่งในขณะเดียวกันวิถีดาดของลูกที่ข้ามไป ผู้เล่นมือหลังก็ไม่อาจตอบโต้กลับมาด้วยลูกตบได้ ถ้าใช้ลูกดาดพุ่งไปยังมุมที่สามของฝ่ายตรงข้ามในหลาย ๆ ครั้งจะพลิกสถานการณ์จากฝ่ายรับให้กลายเป็นฝ่ายรุกได้ทันที
ลูกดาดเป็นลูกที่แรงตีมาจากแรงเหวี่ยงของแขน ผสมผสานกับแรงตวัดของข้อมือ อาจจะมีแรงโถมของน้ำหนักตัว หรือไม่มีเลยก็ได้ การกำหนดแรงตี จะทำให้ลูกดาดข้ามไปยังเป้าหมายที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นลูกดาดครึ่งสนามก็ต้องลดความแรงลงบางส่วน แต่ก็ยังต้องใช้การดีดตวัดของข้อมือช่วยเพื่อให้ลูกดาดที่ข้ามตาข่ายไปนั้น มีวิถีวิ่งที่ฉวัดเฉวียนรวดเร็ว คู่ต่อสู้ไม่อาจจะมาดักตะปบลูกได้หรือบางครั้งจะใช้เป็นลูกหลอก แทนที่จะเป็นลูกพุ่งเร็ว อาจจะตีเป็นลูกแตะหยอดทิ้งไว้หน้าตาข่ายของอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ แต่ต้องเป็นการตีลูกวิถีที่เร็ว ไม่อ้อยอิ่งจนอีกฝ่ายหนึ่งเข้าไปแย๊ปได้ ลูกดาดที่สมบูรณ์ต้องข้ามตาข่ายไปในวิถีตรง ลูกพุ่งข้ามไปด้วยความเร็วในขณะเดียวกันต้องข้ามไปในวิถีวิ่งเลียดตาข่าย ลูกดาดที่พุ่งสู่เป้าหมายห่างตัวคู่ต่อสู้มากเท่าใด จะเป็นการวางลูกที่สร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ตี และบีบให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบเป็นฝ่ายรับ ในหลาย ๆกรณีต้องตอบโต้กลับมาเป็นลูกงัด หรือลูกโยนโด่ง ปิดโอกาสให้เราเป็นฝ่ายทำเป็นฝ่ายรุกโจมตีได้ลูกดาดที่ตีง่าย และถนัด ได้แก่ลูกที่พุ่งมาสองด้านของลำตัว เพราะมีมุมสำหรับเหวี่ยงตีลูก แต่ในบางกรณี ลูกที่พุ่งตรงเข้ามาหาลำตัวผู้เล่นจำเป็นที่จะต้องใช้จังเท้าฟุตเวิร์คดันตัวเองให้พ้นวิถีลูกเพื่อเปิดมุมสำหรับเหวี่ยงตีลูกได้ ควรกำหนดระยะการประชิดให้พอที่จะตีลูกได้อย่างสบาย ปล่อยลำแขนเหวี่ยงตีลูกและตวัดข้อมือได้อย่างมีเสรี ควรตีลูกในระดับสูง และเป็นฝ่ายวิ่งเข้าหาลูกเสมอ
การฝึกตีลูกดาด ให้ผู้เล่นสองคนอยู่คนละฝ่ายของสนาม ตีลูกดาดด้วยการยืนอยู่ประมาณครึ่งสนาม ตีซ้ายขวาไปมาช้า ๆ พยายามบังคับให้ลูกวิ่งเลียดข้ามโดยไม่ติดตาข่าย ในระยะแรก ๆ ให้เผื่อข้ามเลยตาข่ายไว้ก่อน เมื่อเกิดความชำนาญ เกิดทักษะ จึงค่อยทวีความแรง กับความเร็วมากขึ้น
ลูกหยอด (Drop)
คือลูกที่ตีจากส่วนต่าง ๆ ของสนามให้พุ่งย้อยข้ามตาข่าย และตกลงสู่พื้นสนามด้านตรงข้ามดดยไม่เกินเส้นส่งลูกสั้น จะหยอดด้วยด้วยลูกหน้ามือก็ได้ หรือหลังมือก็ได้ หรือจะตีตัดหยอดจากลูกโด่งเหนือศีรษะก็ได้ ลูกหยอดเป็นการทำให้คู่ต่อสู้ต้องวิ่งเข้ามาเล่นลูกหน้าตาข่ายทำให้พื้นที่ส่วนหลังของสนามมีพื้นที่มากขึ้น การหยอดมีหลายแบบ เช่น ลูกหยอดหน้าตาข่าย ลูกตัดหยอด แต่ลูกหยอดที่ดีจะต้องเลียดตาข่ายและพยายามให้ลูกตกชิดตาข่ายมากที่สุด
การตีลูกหยอดมีวิธีการดังนี้คือ
1.เวลาตีลูกหยอดต้องให้แขนตึง ตามองลูกที่จะหยอ
2. เมื่อหน้าไม้จะสัมผัสลูกขนไก่ให้เอียงหน้าไม้ไปในทิศทางที่ต้องการให้ลูกไปตกพร้อมทั้งกระดกข้อมือเมื่อไม้สัมผัสกับลูกขนไก่
3.ลูกที่หยอดจะเป็นการหยอดจากหน้ามือหรือหลังมือก็ได้

ในเกมแบดมินตัน ลูกตบเป็นลูกที่เด็ดขาดที่ตีจากเบื้องสูงกดลงสู่เป้าหมายให้พุ่งสู่พื้นในวิถีตรงที่รุนแรง และเร็วที่สุดเป็นลูกที่พุ่งไปสู่เป้าหมายด้วยความเร็วที่สุดสูงกว่าเกมเล่นอื่น ๆ ที่ใช้แร็กเก็ต เป็นลูกที่ใช้บีบบังคับให้คู่ต่อสู้ต้องตกเป็นฝ่ายรับ มีเวลาจำกัดสำหรับการเตรียมตัวตอบโต้ ลูกตบเป็นลูกฆ่า เป็นลูกทำแต้มที่ได้ผลถ้ารู้จักใช้อย่างถูกต้อง
เมื่อคู่ต่อสู้โยนลูกข้ามตาข่ายเพียงครึ่งสนามหรือส่งลูกมาไม่ถึงหลัง
เมือต้องการบีบให้คู่ต่อสู้เสียหลัก ผละออกจากจุดศูนย์กลาง
เมื่อต้องการให้คู่ต่อสู้กังวลใจ พะวงอยู่กับการตั้งรับ
เพื่อผลของการหลอกล่อ เมื่อคู่ต่อสู้เกิดความกังวลใจ ทำให้ประสิทธิผลของการใช้ลูกหลักอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น
เมื่อต้องการเผด็จศึกยุติการตอบโต้ หรือใช้เมื่อคู่ต่อสู้เผลอตัว หรือเสียหลักการทรงตัวบุกทำคะแนนด้วยลูกเด็ดขาด
คือลูกที่พุ่งเฉียดข้ามตาข่าย มีวิถีพุ่งข้ามขนานไปกับพื้นสนาม ผู้เล่นตีลูกดาดสูงในระดับอก ตีได้ทั้งหน้ามือโฟร์แฮนด์ และหลังมือแบ็คแฮนด์ทั้งจากด้านซ้าย ขวาของลำตัวลูกดาดที่ตีจากระดับต่ำ ลูกที่ข้ามไปจะลอยสูงไม่ขนานกับพื้นสนาม มีแนวโน้มที่จะข้ามตาข่ายไปในลักษณะของลูกงัดโด่ง ลูกดาดใช้สำหรับสร้างสถานการณ์เป็นฝ่ายรุกโจมตี ไม่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายหนึ่งตอบโต้กลับมาได้ด้วยลูกตบเป็นลูกที่พุ่งข้ามตาข่ายด้วยความเร็วในวิถีตรงโดยที่ผู้เล่นสามารถวางเป้าหมายให้ลูกพุ่งไปสู่ทุกจุดของสนามตรงข้าม อาจเป็นลูกดาดสุดสนาม(ดูรูปที่หมายเลข 9) ดาดครึ่งสนาม(หมายเลข 3.) หรือตีเบา ๆ ให้กลายเป็นลูกแตะหยอด(หมายเลข 2.)
การตีลูกหยอดมีวิธีการดังนี้คือ
ข้อคิดสำหรับนักกีฬาแบดมินตัน
30 ข้อคิดสำหรับนักกีฬาเล่นแบดมินตัน
วันนี้ไปเจอกระทู้น่าสนใจในเว็บ 1. ไม่ว่าไม้แบดอะไรก็สามารถใช้ตีไ 2. ฝีมือระดับไหน ๆ (ไม่ว่าห่วยหรือเก่ง) ก็ใช้ไม้แบดไหน ๆ ได้ทั้งนั้น ฝีมือห่วยแต่มีตังค์ก็ใช้ไม้เทพ ฝีมือดีถึงจะใช้ไม้ห่วยก็เอาชนะ 3. ถ้ารู้สึกว่าติดใจไม้แบดอันไหนเ เสียตังค์ซื้อมันอยู่ดี --" 4. เวลาจะซื้อไม้แบดซักอัน ดูรีวิวไม้แบดในเว็บไปก็แค่นั้น ลองแล้วนั่นแหล่ะ 5. หลังจากที่ได้ลองตีแล้ว ถ้ารู้สึกว่าไม้แบดตีไม่เข้ามือ หรือไม่ก็รีบเอาขึ้นเว็บขายต่อ (ถ้าไม้เป็นรอยเดี๋ยวราคาจะตก) 6. อย่าสนใจไม้แบดมากเกินไป มันก็เป็นแค่วัตถุที่ช่วยให้เรา 7. เอ็นแบดเป็นส่วนหนึ่งของไม้แบด การเลือกใช้เอ็นแบดมีความสำคัญไ 8. ไม่มีไม้แบดไหนที่สมบูรณ์แบบสุด 9. ก่อนซื้อไม้แบดต้องใจร่ม ๆ เข้าไว้ ตอนที่ซื้อห้ามรีบร้อน ไตร่ตรองให้ดี ห้ามผลีผลามเด็ดขาด (ยังกับจะไปรบ) 10. เมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกว่าจำเป็น 11. อย่าซื้อไม้แบดปลอมอันละ 1000 บาทขึ้นไป 12. ความสามารถของคน(นักแบด) มีความสำคัญกว่าคุณภาพของไม้แบด 13. เวลาจะซื้อรองเท้าแบด ให้ซื้อแพงที่สุดเท่าที่จะซื้อไ 14. เมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกว่ามีไม้แ เพราะนั่นหมายความว่าคุณเริ่มจะ 15 .เมื่อไหร่ที่ในกระเป๋าแบดของคุ หมายความว่า คุณเริ่มจะเป็นนักแบดจอมเทคนิคแ 16. แต่ถ้าในกระเป๋าแบดของคุณมีไม้แ พวกบ้าอุปกรณ์(ไม้แบด)แล้ว 17. เป็นนักแบดที่บ้าอุปกรณ์ง่ายกว่ 18. เป็นนักแบดที่บ้าอุปกรณ์ไม่ใช่เ 19. Yonexไม่ใช่สัญลักษณ์ของแบดมินต 20. คุณภาพของลูกแบดเป็นไปตามราคา ยิ่งถูกยิ่งห่วย ยิ่งแพงยิ่งดี 21. ใช้เงิน 5000 บาทไปเรียนแบดคุ้มกว่าใช้เงิน 5000 บาทไปซื้อไม้แบด 22. เรื่องสำคัญที่ต้องทำก่อนเล่นแบ 23. เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้ไปกับ 24. สำหรับนักแบดมือสมัครเล่น ถ้ามีไม้แบดอันเดียวไว้สำหรับเล แต่ถ้ามีอันนึงไว้เล่นเดี่ยว อีกอันไว้เล่นคู่ อย่างงี้เรียกว่าเป็นคนเตรียมพร 25. ผ้าขนหนูควรมีติดกระเป๋าแบดเอาไ 26. มัวคิดอยู่ได้ว่าจะใช้เอ็นแบดอะ 27. เวลาไปขึ้นเอ็น ถ้าเห็นคนขึ้นเอ็นถือเทียนไขอยู 28. เทคโนโลยีที่ใช้ทำไม้แบดแต่ละอั สโลแกนในการทำตลาด 29. ดังนั้น อย่าไปหวังว่าเทคโนโลยีชั้นสูงข ตีแบดในห้องแล็ปซะหน่อย 30. มีไม้แบดหลายอันที่แพงอย่างไม่ม มันถึงถูก อ่านกันแล้วรู้สึกยังไงกันบ้างค ถ้าใครว่าง ๆ ก็ลองรวบรวมข้อคิดจากนักแบดในเว |
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558
กติกาการเล่นเบื้องต้น
กติกาการเล่นเบื้องต้น
1. การออกนอกเส้น มีการกำหนดเส้นออกแต่งต่างกันในกรณีเล่นเดี่ยวและเล่นคู่2. การเสิร์ฟลูก ตามกติกา ที่ถูกต้อง คือ
1. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าข้อมืออย่างเห็นได้ชัด
2. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าเอวอย่างเห็นได้ชัด
3. ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา หรือเสริฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ การเสริฟ ต้องเสริฟไปด้วยจังหวะเดียว
4. ขณะเสิร์ฟ ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
5. การเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง ต้องให้แร็กเก็ตสัมผัสกับหัวลูกก่อน หากโดนขนก่อนถือว่าผิดกติกา
3. ขณะตีลูกโต้กัน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือไม้แบดไปสัมผัสกับเน็ท
4. ห้ามตีลูกที่ฝั่งตรงข้ามโต้กลับมา ในขณะที่ลูกยังไม่ข้ามเน็ทมายังแดนเรา(Over net)
สหพันธ์ แบดมินตันนานาชาติ ( IBF) ได้กำหนดให้ ทดลองใช้ระบบการนับคะแนนการแข่งขันกีฬาแบดมินตันใหม่ ในระบบ 3 x 21 คะแนน ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป
2. ทุกประเภทของการแข่งขัน ฝ่ายที่ได้ 21 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นเมื่อได้ 20 คะแนนเท่ากันต้องนับต่อให้มีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน(การดิวส์) ฝ่ายใดได้คะแนนนำ 2 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่ไม่เกิน 30 คะแนน หมายความว่าหากการเล่นดำเนินมาจนถึง 29 คะแนนเท่ากัน ฝ่ายใดได้ 30 คะแนนก่อน เป็นผู้ชนะ
3. ฝ่ายชนะเป็นฝ่ายส่งลูกต่อในเกมต่อไป
4. ฝ่ายชนะการเสี่ยงสิทธิ์เป็นฝ่ายส่งลูกได้ก่อน หากฝ่ายตรงข้ามทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น ผู้เลือกส่งลูกก่อนจะได้คะแนนนำ 1-0 และได้ส่งลูกต่อ แต่หากผู้ส่งลูกทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนตามมาทันทีเป็น 1-1 และฝ่ายตรงข้ามจะได้สิทธิ์ส่งลูกแทน ดำเนินเช่นนี้ต่อไปจนจบเกม
5. ประเภทคู่ให้ส่งลูกฝ่ายละ 1 ครั้ง ตามคะแนนที่ได้ ขณะที่เปลี่ยนฝ่ายส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคี่ ผู้อยู่คอร์ดด้านซ้ายเป็นผู้ส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคู่ผู้อยู่คอร์ดด้านขวาเป็นฝ่ายส่งลูก
มารยาทของผู้ตัดสิน
1. เมื่อเข้าสู่สนามแข่งขัน ต้องแต่งกายให้ถูกต้องตามลักษณะของการเป็นผู้ตัดสิน เครื่องแต่งกายต้องประณีต และสะอาด วางตัวในลักษณะสุภาพอ่อนน้อม แต่สำรวมไม่หลอกล้อกับผู้หนึ่งผู้ใด แสดงออกถึงอาการที่จะให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยท่าทีกระฉับกระเฉง ไม่ใช่ประหม่าหรือลุกลี้ลุกลน
กติกาการนับคะแนนแบตมินตัน
1. แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม2. ทุกประเภทของการแข่งขัน ฝ่ายที่ได้ 21 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นเมื่อได้ 20 คะแนนเท่ากันต้องนับต่อให้มีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน(การดิวส์) ฝ่ายใดได้คะแนนนำ 2 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่ไม่เกิน 30 คะแนน หมายความว่าหากการเล่นดำเนินมาจนถึง 29 คะแนนเท่ากัน ฝ่ายใดได้ 30 คะแนนก่อน เป็นผู้ชนะ
3. ฝ่ายชนะเป็นฝ่ายส่งลูกต่อในเกมต่อไป
4. ฝ่ายชนะการเสี่ยงสิทธิ์เป็นฝ่ายส่งลูกได้ก่อน หากฝ่ายตรงข้ามทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น ผู้เลือกส่งลูกก่อนจะได้คะแนนนำ 1-0 และได้ส่งลูกต่อ แต่หากผู้ส่งลูกทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนตามมาทันทีเป็น 1-1 และฝ่ายตรงข้ามจะได้สิทธิ์ส่งลูกแทน ดำเนินเช่นนี้ต่อไปจนจบเกม
5. ประเภทคู่ให้ส่งลูกฝ่ายละ 1 ครั้ง ตามคะแนนที่ได้ ขณะที่เปลี่ยนฝ่ายส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคี่ ผู้อยู่คอร์ดด้านซ้ายเป็นผู้ส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคู่ผู้อยู่คอร์ดด้านขวาเป็นฝ่ายส่งลูก
มารยาทของผู้ตัดสิน
1. เมื่อเข้าสู่สนามแข่งขัน ต้องแต่งกายให้ถูกต้องตามลักษณะของการเป็นผู้ตัดสิน เครื่องแต่งกายต้องประณีต และสะอาด วางตัวในลักษณะสุภาพอ่อนน้อม แต่สำรวมไม่หลอกล้อกับผู้หนึ่งผู้ใด แสดงออกถึงอาการที่จะให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยท่าทีกระฉับกระเฉง ไม่ใช่ประหม่าหรือลุกลี้ลุกลน
2. ระหว่างการแข่งขัน หลีกเลี่ยงการพบปะสนทนากับผู้เล่น ผู้ฝึกสอน ตลอดจนผู้คุ้นเคยอื่น ๆ พยายามตั้งใจจริงในการปฏิบัติหน้าที่ในการตัดสิน ตัดสินใจด้วยความเด็ดขาดถูกต้อง แสดงออกถึงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่แสดงอารมณ์ออกมา ควรใช้วาจาเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นพูดเฉพาะหลักการเท่านั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ฟัง และไม่ควรโต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะเป็นการลดฐานะของตนเอง อันเป็นการทำให้เสื่อมศักดิ์ศรี และเป็นการนำไปสู่การทะเลาะวิวาทหรือทำให้เกิดคับข้องขุ่นเคืองใจได้
3. เมื่อจบการแข่งขัน หลังจากตรวจใบนับคะแนนเรียบร้อยแล้ว ควรรีบออกจากสนามแข่งขันทันที ไม่ควรรีรออยู่เพื่อขออภัยในความผิดพลาดในการตัดสิน หรือเพื่อแสดงความยินดีหรือเสียใจต่อคู่แข่ง ไม่ควรแสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีการถกเถียงกัน ในกรณีที่มีผู้สื่อข่าวขอสัมภาษณ์ ควรให้ความร่วมมือด้วยอัธยาศัยอันดี โดยชี้แจงอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมในขอบเขตของการเป็นผู้ตัดสิน แต่ไม่ควรแสดงความคิดเห็นที่ซ้ำเติม หรือก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น
วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558
ประวัดแบดมินตัน
ประวัติแบดมินตัน
แบดมินตัน (Badminton) เป็นกีฬาที่ได้รับการวิจารณ์เป็นอย่างมากเพราะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดถึงที่ มาของกีฬาประเภทนี้ คงมีแต่หลักฐานบางอย่างที่ทำให้ทราบว่ากีฬาแบดมินตันมีเล่นกันในยุโรป โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษตอนปลายศตวรรษที่ 17 และจากภาพสน้ำมันหลายภาพได้ยืนยันว่ากีฬาแบดมินตันเล่นกันอย่างแพร่หลายใน พระราชวงศ์ของราชสำนักต่างๆ ในทวีปยุโรป แม้ว่าจะเรียกกันภายใต้ชื่ออื่นก็ตาม ประวัติของกีฬาแบดมินตันบันทึกได้แน่นอนในปี พ.ศ. 2413 ปรากฏว่ามีการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมืองปูนา (Poona) ในประเทศอินเดีย เป็นเมืองเล็กๆ ห่างจากเมืองบอมเปย์ประมาณ 50 ไมล์โดยได้รวมการเล่นสองอย่างเข้าด้วยกันคือ การเล่นปูนาของประเทศอินเดียและการเล่นไม้ตีกับลูกขนไก่ (Battledore Shuttle Cock) ของยุโรป ในระยะแรกๆการเล่นจะเล่นกันเพียงแต่ในหมู่นายทหารของกองทัพและสมาชิกชนชั้นสูงของอินเดียจนกระทั่งมีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่เมืองปูนานำการเล่นตีลูกขนไก่นี้กลับไปอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้างขวาง ณคฤหาสน์แบดมินตัน (Badminton House) ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดที่กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี พ.ศ. 2416 เกมกีฬาตีลูกขนไก่เลยถูกเรียกว่าแบดมินตัน ตามชื่อคฤหาสน์ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดตั้งแต่นั้นมากีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบภาคพื้น ยุโรปเพราะเป็นเกมที่คล้ายเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึกโดยไม่ต้องกังวลต่อลมหรือหิมะในฤดูหนาว ชาวยุโรปที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกาได้นำกีฬาแบดมินตันไปเผยแพร่ รวมทั้งประเทศต่างๆในทวีปเอเชียและออสเตรเลียที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ต่างนำเกมแบดมินตันไปเล่นยังประเทศของตนอย่างแพร่หลายเกมกีฬาแบดมินตันจึงกระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
การเล่นแบดมินตันในระยะแรกๆ มิได้มีกฎเกณฑ์แต่เป็นเพียงตีโต้ลูกกันไปมาไม่ให้ลูกตกพื้นเท่านั้นเส้นแบ่งแดนก็ใช้ตาข่ายผูกโยงระหว่างต้นไม้สองต้นไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต่ำสูง เล่นกันข้างละไม่น้อยกว่า 4 คน ส่วนมาจะเล่นทีมละ 6 ถึง 9 คนผู้เล่นแต่งตัวตามสบาย สุภาพสตรีสวมกระโปรงยาวทั้งชุดใส่หมวกติดผ้าลายลูกไม้ สุภาพบุรุษแต่งสากลผูกโบว์ไทด์เพราะกีฬาแบดมินตันได้รับความนิยมแพร่หลายออกไปตามบ้านข้าราชการ พ่อค้าคหบดี และประชาชน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2436 ได้มีการจัดตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษขึ้นซึ่งนับเป็นสมาคมแบดมินตันแห่งแรกของโลกมีการจัดแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่าออลอิงแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 เป็นต้นมาได้ตั้งกฎเกณฑ์ของสนามมาตรฐานขึ้นคือ ขนาดกว้าง 22 ฟุต ยาว 45 ฟุต (22 x 45) เป็นสนามขนาดมาตรฐานประเภทคู่ที่ใช้ในปัจจุบันตั้งแต่นั้นมาการปรับปรุงดัดแปลงในเรื่องอุปกรณการเล่นได้กระทำให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลกประเทศในเอเซียอาคเนย์ที่มีการเล่นกีฬาแบดมินตันและได้รับความนิยมสูงสุดคืออินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทยนอกจากประเทศอังกฤษแล้วการเล่นที่น่าดูมีขึ้นที่ประเทศแคนาดาและเดนมาร์กด้วยเหตุผลที่ควรสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลกในกีฬาประเภทนี้การแข่งขันระหว่างประเทศจึงได้จัดให้มีขึ้นในปี พ.ศ. 2445 และตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาจำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแบดมินตันระหว่างประเทศมีมากว่า 31 ประเทศ แบดมินตันได้กลายเป็นเกมกีฬาที่เล่นกันระหว่างชาติโดยมีการยกทีมข้ามประเทศเพื่อแข็งขันระหว่างชาติในทวีปยุโรป ในปี พ.ศ.2468 กลุ่มนักกีฬาของประเทศอังกฤษได้แข่งขันกับกลุ่มนักกีฬาประเทศแคนาดาห้าปีหลังจากนั้นพบว่าประเทศแคนาดามีสโมสรสำหรับฝึกแบดมินตันมาตฐานแทบทุกเมือง
ในปี พ.ศ. 2477 สมาคมแบดมินตันของประเทศอังกฤษเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ โดยมีชาติต่างๆ อีก 8 ชาติคือ แคนาดา เดนมาร์ก อังกฤษฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สก๊อตแลนด์ และเวลล์โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่ในเครือสมาชิกกว่า60 ประเทศที่ขึ้นต่อสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ (I.B.F.) สหพันธ์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดและควบคุมกติการะเบียบข้อบังคับต่างๆของการแข่งขันกีฬาแบดมินตันทั่วโลก
ในปี พ.ศ. 2482 Sir George Thomas นักแบดมินตันอาวุโสชาวอังกฤษเป็นผู้มอบถ้วยทองราคา 5,000 ปอนด์เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศประเภทชายในการแข่งขันแบดมินตันระหว่างประเทศ ซึ่งสหพันธ์แบดมินตันได้รับไว้และดำเนินการตามประสงค์นี้แม้ว่าตามทางการจะเรียกว่า การแข่งขันชิงถ้วยชนะเลิศแบดมินตันระหว่างประเทศแต่นิยมเรียกกันว่า โธมัสคัพ (Thomas Cup) การแข่งขันจะจัดขึ้นทุกๆ 3 ปีโดยสหพันธ์ได้แบ่งเขตการแข่งขันของชาติสมาชิกออกเป็น 4 โซน คือ 1. โซนยุโรป 2. โซนอเมริกา 3. โซนเอเชีย 4. โซนออสเตรเลเซีย (เดิมเรียกว่าโซนออสเตรเลีย)
วิธีการแข่งขันจะแข่งขันชิงชนะเลิศภายในแต่ละโซน ขึ้นก่อนแล้วให้ผู้ชนะเลิศแต่ละโซนไปแข่งขันรอบอินเตอร์โซนเพื่อให้ผู้ชนะเลิศทั้ง 4 โซนไปแข่งขันชิงชนะเลิศกับทีมของชาติที่ครอบครองดถ้วยโธมัสคัพอยู่ซึ่งได้รับเกียรติไม่ต้องแข่งขันในรอบแรกและรอบอินเตอร์โซนชุดที่เข้าแข่งขันประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 4 คนการที่จะชนะเลิศนั้นจะตัดสินโดยการรวมผลการแข่งขันของประเภทชายเดี่ยว 5 คุ่และประเภทชายคู่ 4 คู่ รวม 9 คู่ และใช้เวลาการแข่งขัน 2 วันการแข่งขันชิงถ้วยโธมัสคัพครั้งแรก จัดให้มีขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2491-2492 ต่อมาในการแข่งขันแบดมินตันโธมัสคัพ ครั้งที่ 8 ปีพ.ศ. 2512-2513 สหพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการแข่งขันเล็กน้อยโดยให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นเข้าร่วมแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนด้วยโดยวิธีการจับสลากแล้วแบ่งออกเป็น 2 สายผู้ชนะเลิศแต่ละสายจะได้เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศโธมัสคัพรอบสุดท้ายต่อไปสาเหตุที่สหพันธ์เปลี่ยนแปลงการแข่งขันใหม่นี้เนื่องจากมีบางประเทศที่ชนะเลิศได้ครอบครองถ้วยโธมัสคัพไม่รักษาเกียรติที่ได้รับจากสหพันธ์ไว้โดยพยายามใช้ชั้นเชิงที่ไม่ขาวสะอาดรักษาถ้วยโธมัสคัพไว้ครั้งแล้วครั้งเล่าสหพันธ์จึงต้องเปลี่ยนข้อบังคับให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นลงแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนดังกล่าวด้วย
กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายขึ้นแม้กระทั่งในกลุ่มประเทศสังคมนิยมก็ได้มีการเล่นเบดมินตันอย่างกว้างขวางและมีการบรรจุแบดมินตันเข้าไว้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เซียพเกมส์(ซีเกมส์ในปัจจุบัน) การแข่งขันกีฬาของประเทศในเครือจักภพสหราชอาณาจักรรวมทั้งการพิจารณาแบดมินตันเข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันว่า แบดมินตันได้กลายเป็นกีฬาสากลแล้วอย่างแท้จริง
ประวัติผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตัน จอห์นลอเรน บอลด์วิน
ผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกโดยจัดการเล่นที่คฤหาสน์ แบดมินตัน (Badmintion House) ในปราสาทของท่านดยุค แห่งบิวฟอร์ดในกลอสเตอร์ชาร์ ประเทศอังกฤษ บอลด์วินมีความคิดเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ว่ากันประมาณ 60 ปีกว่า ของคริสต์ศตวรรษที่แล้ว บอลด์วิน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2352 ได้รับการศึกษาในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดเขาสนใจกีฬาคริกเกต และละครมาก เขามีความชำนาญในกีฬาหลายชนิดและได้ก่อตั้งสโมสรในกรุงลอนดอน (London) หลายแห่งจนได้ชื่อว่า "ราชาสโมสร"ได้มีนิตยสารฉบับหนึ่งชื่อ "แวนิตี้แฟร์" ได้กล่าวว่า"เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษทีเดียวที่ชื่อเสียงของเขายิ่งใหญ่ในวงการสังคมสโมสร ซึ่งทุกคนเชื่อฟังโดยความเคารพ และเขาเก่งไม่มีใครเท่าเทียมได้ในการสร้างข้อบังคับ และเป็นผู้ชี้ขาดเกี่ยวกับปัญหาทั่วไปและกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่างๆจากลักษณะดังกล่าวนี้เราจะคิดไม่ได้หรือว่าเขาเป็นผู้วางกฎข้อบังคับกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกสุดถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม"แวนิตี้แฟร์ บอกให้ทราบว่า"เขาเป็นสหายคนสำคัญของท่านดยุคแห่งบิวฟอร์ด"ชีวิตในระยะหลังบอลด์วินได้ไปอาศัยอยู่ใกล้ๆกับวิหาร Tintern Abbey ห่างจากคฤหาสน์แบดมินตันไปทางตะวันตกประมาณ 32 กิโลเมตรเมื่ออยู่ที่นั่นเขาได้รับขนานนามว่า ท่านบิดาแห่งทินเทินขณะนั้นเขาแก่ลงมากความชราก็ไม่ได้ทำให้เขาลดหย่อนงานอันเป็นที่ยอมรับกันเลย
แบดมินตัน (Badminton) เป็นกีฬาที่ได้รับการวิจารณ์เป็นอย่างมากเพราะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดถึงที่ มาของกีฬาประเภทนี้ คงมีแต่หลักฐานบางอย่างที่ทำให้ทราบว่ากีฬาแบดมินตันมีเล่นกันในยุโรป โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษตอนปลายศตวรรษที่ 17 และจากภาพสน้ำมันหลายภาพได้ยืนยันว่ากีฬาแบดมินตันเล่นกันอย่างแพร่หลายใน พระราชวงศ์ของราชสำนักต่างๆ ในทวีปยุโรป แม้ว่าจะเรียกกันภายใต้ชื่ออื่นก็ตาม ประวัติของกีฬาแบดมินตันบันทึกได้แน่นอนในปี พ.ศ. 2413 ปรากฏว่ามีการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมืองปูนา (Poona) ในประเทศอินเดีย เป็นเมืองเล็กๆ ห่างจากเมืองบอมเปย์ประมาณ 50 ไมล์โดยได้รวมการเล่นสองอย่างเข้าด้วยกันคือ การเล่นปูนาของประเทศอินเดียและการเล่นไม้ตีกับลูกขนไก่ (Battledore Shuttle Cock) ของยุโรป ในระยะแรกๆการเล่นจะเล่นกันเพียงแต่ในหมู่นายทหารของกองทัพและสมาชิกชนชั้นสูงของอินเดียจนกระทั่งมีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่เมืองปูนานำการเล่นตีลูกขนไก่นี้กลับไปอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้างขวาง ณคฤหาสน์แบดมินตัน (Badminton House) ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดที่กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี พ.ศ. 2416 เกมกีฬาตีลูกขนไก่เลยถูกเรียกว่าแบดมินตัน ตามชื่อคฤหาสน์ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดตั้งแต่นั้นมากีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบภาคพื้น ยุโรปเพราะเป็นเกมที่คล้ายเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึกโดยไม่ต้องกังวลต่อลมหรือหิมะในฤดูหนาว ชาวยุโรปที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกาได้นำกีฬาแบดมินตันไปเผยแพร่ รวมทั้งประเทศต่างๆในทวีปเอเชียและออสเตรเลียที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ต่างนำเกมแบดมินตันไปเล่นยังประเทศของตนอย่างแพร่หลายเกมกีฬาแบดมินตันจึงกระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
การเล่นแบดมินตันในระยะแรกๆ มิได้มีกฎเกณฑ์แต่เป็นเพียงตีโต้ลูกกันไปมาไม่ให้ลูกตกพื้นเท่านั้นเส้นแบ่งแดนก็ใช้ตาข่ายผูกโยงระหว่างต้นไม้สองต้นไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต่ำสูง เล่นกันข้างละไม่น้อยกว่า 4 คน ส่วนมาจะเล่นทีมละ 6 ถึง 9 คนผู้เล่นแต่งตัวตามสบาย สุภาพสตรีสวมกระโปรงยาวทั้งชุดใส่หมวกติดผ้าลายลูกไม้ สุภาพบุรุษแต่งสากลผูกโบว์ไทด์เพราะกีฬาแบดมินตันได้รับความนิยมแพร่หลายออกไปตามบ้านข้าราชการ พ่อค้าคหบดี และประชาชน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2436 ได้มีการจัดตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษขึ้นซึ่งนับเป็นสมาคมแบดมินตันแห่งแรกของโลกมีการจัดแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่าออลอิงแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 เป็นต้นมาได้ตั้งกฎเกณฑ์ของสนามมาตรฐานขึ้นคือ ขนาดกว้าง 22 ฟุต ยาว 45 ฟุต (22 x 45) เป็นสนามขนาดมาตรฐานประเภทคู่ที่ใช้ในปัจจุบันตั้งแต่นั้นมาการปรับปรุงดัดแปลงในเรื่องอุปกรณการเล่นได้กระทำให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลกประเทศในเอเซียอาคเนย์ที่มีการเล่นกีฬาแบดมินตันและได้รับความนิยมสูงสุดคืออินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทยนอกจากประเทศอังกฤษแล้วการเล่นที่น่าดูมีขึ้นที่ประเทศแคนาดาและเดนมาร์กด้วยเหตุผลที่ควรสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลกในกีฬาประเภทนี้การแข่งขันระหว่างประเทศจึงได้จัดให้มีขึ้นในปี พ.ศ. 2445 และตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาจำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแบดมินตันระหว่างประเทศมีมากว่า 31 ประเทศ แบดมินตันได้กลายเป็นเกมกีฬาที่เล่นกันระหว่างชาติโดยมีการยกทีมข้ามประเทศเพื่อแข็งขันระหว่างชาติในทวีปยุโรป ในปี พ.ศ.2468 กลุ่มนักกีฬาของประเทศอังกฤษได้แข่งขันกับกลุ่มนักกีฬาประเทศแคนาดาห้าปีหลังจากนั้นพบว่าประเทศแคนาดามีสโมสรสำหรับฝึกแบดมินตันมาตฐานแทบทุกเมือง
ในปี พ.ศ. 2477 สมาคมแบดมินตันของประเทศอังกฤษเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ โดยมีชาติต่างๆ อีก 8 ชาติคือ แคนาดา เดนมาร์ก อังกฤษฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สก๊อตแลนด์ และเวลล์โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่ในเครือสมาชิกกว่า60 ประเทศที่ขึ้นต่อสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ (I.B.F.) สหพันธ์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดและควบคุมกติการะเบียบข้อบังคับต่างๆของการแข่งขันกีฬาแบดมินตันทั่วโลก
ในปี พ.ศ. 2482 Sir George Thomas นักแบดมินตันอาวุโสชาวอังกฤษเป็นผู้มอบถ้วยทองราคา 5,000 ปอนด์เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศประเภทชายในการแข่งขันแบดมินตันระหว่างประเทศ ซึ่งสหพันธ์แบดมินตันได้รับไว้และดำเนินการตามประสงค์นี้แม้ว่าตามทางการจะเรียกว่า การแข่งขันชิงถ้วยชนะเลิศแบดมินตันระหว่างประเทศแต่นิยมเรียกกันว่า โธมัสคัพ (Thomas Cup) การแข่งขันจะจัดขึ้นทุกๆ 3 ปีโดยสหพันธ์ได้แบ่งเขตการแข่งขันของชาติสมาชิกออกเป็น 4 โซน คือ 1. โซนยุโรป 2. โซนอเมริกา 3. โซนเอเชีย 4. โซนออสเตรเลเซีย (เดิมเรียกว่าโซนออสเตรเลีย)
วิธีการแข่งขันจะแข่งขันชิงชนะเลิศภายในแต่ละโซน ขึ้นก่อนแล้วให้ผู้ชนะเลิศแต่ละโซนไปแข่งขันรอบอินเตอร์โซนเพื่อให้ผู้ชนะเลิศทั้ง 4 โซนไปแข่งขันชิงชนะเลิศกับทีมของชาติที่ครอบครองดถ้วยโธมัสคัพอยู่ซึ่งได้รับเกียรติไม่ต้องแข่งขันในรอบแรกและรอบอินเตอร์โซนชุดที่เข้าแข่งขันประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 4 คนการที่จะชนะเลิศนั้นจะตัดสินโดยการรวมผลการแข่งขันของประเภทชายเดี่ยว 5 คุ่และประเภทชายคู่ 4 คู่ รวม 9 คู่ และใช้เวลาการแข่งขัน 2 วันการแข่งขันชิงถ้วยโธมัสคัพครั้งแรก จัดให้มีขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2491-2492 ต่อมาในการแข่งขันแบดมินตันโธมัสคัพ ครั้งที่ 8 ปีพ.ศ. 2512-2513 สหพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการแข่งขันเล็กน้อยโดยให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นเข้าร่วมแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนด้วยโดยวิธีการจับสลากแล้วแบ่งออกเป็น 2 สายผู้ชนะเลิศแต่ละสายจะได้เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศโธมัสคัพรอบสุดท้ายต่อไปสาเหตุที่สหพันธ์เปลี่ยนแปลงการแข่งขันใหม่นี้เนื่องจากมีบางประเทศที่ชนะเลิศได้ครอบครองถ้วยโธมัสคัพไม่รักษาเกียรติที่ได้รับจากสหพันธ์ไว้โดยพยายามใช้ชั้นเชิงที่ไม่ขาวสะอาดรักษาถ้วยโธมัสคัพไว้ครั้งแล้วครั้งเล่าสหพันธ์จึงต้องเปลี่ยนข้อบังคับให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นลงแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนดังกล่าวด้วย
กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายขึ้นแม้กระทั่งในกลุ่มประเทศสังคมนิยมก็ได้มีการเล่นเบดมินตันอย่างกว้างขวางและมีการบรรจุแบดมินตันเข้าไว้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เซียพเกมส์(ซีเกมส์ในปัจจุบัน) การแข่งขันกีฬาของประเทศในเครือจักภพสหราชอาณาจักรรวมทั้งการพิจารณาแบดมินตันเข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันว่า แบดมินตันได้กลายเป็นกีฬาสากลแล้วอย่างแท้จริง
ประวัติผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตัน จอห์นลอเรน บอลด์วิน
ผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกโดยจัดการเล่นที่คฤหาสน์ แบดมินตัน (Badmintion House) ในปราสาทของท่านดยุค แห่งบิวฟอร์ดในกลอสเตอร์ชาร์ ประเทศอังกฤษ บอลด์วินมีความคิดเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ว่ากันประมาณ 60 ปีกว่า ของคริสต์ศตวรรษที่แล้ว บอลด์วิน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2352 ได้รับการศึกษาในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดเขาสนใจกีฬาคริกเกต และละครมาก เขามีความชำนาญในกีฬาหลายชนิดและได้ก่อตั้งสโมสรในกรุงลอนดอน (London) หลายแห่งจนได้ชื่อว่า "ราชาสโมสร"ได้มีนิตยสารฉบับหนึ่งชื่อ "แวนิตี้แฟร์" ได้กล่าวว่า"เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษทีเดียวที่ชื่อเสียงของเขายิ่งใหญ่ในวงการสังคมสโมสร ซึ่งทุกคนเชื่อฟังโดยความเคารพ และเขาเก่งไม่มีใครเท่าเทียมได้ในการสร้างข้อบังคับ และเป็นผู้ชี้ขาดเกี่ยวกับปัญหาทั่วไปและกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่างๆจากลักษณะดังกล่าวนี้เราจะคิดไม่ได้หรือว่าเขาเป็นผู้วางกฎข้อบังคับกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกสุดถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม"แวนิตี้แฟร์ บอกให้ทราบว่า"เขาเป็นสหายคนสำคัญของท่านดยุคแห่งบิวฟอร์ด"ชีวิตในระยะหลังบอลด์วินได้ไปอาศัยอยู่ใกล้ๆกับวิหาร Tintern Abbey ห่างจากคฤหาสน์แบดมินตันไปทางตะวันตกประมาณ 32 กิโลเมตรเมื่ออยู่ที่นั่นเขาได้รับขนานนามว่า ท่านบิดาแห่งทินเทินขณะนั้นเขาแก่ลงมากความชราก็ไม่ได้ทำให้เขาลดหย่อนงานอันเป็นที่ยอมรับกันเลย
ผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกโดยจัดการเล่นที่คฤหาสน์ แบดมินตัน (Badmintion House) ในปราสาทของท่านดยุค แห่งบิวฟอร์ดในกลอสเตอร์ชาร์ ประเทศอังกฤษ บอลด์วินมีความคิดเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ว่ากันประมาณ 60 ปีกว่า ของคริสต์ศตวรรษที่แล้ว บอลด์วิน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2352 ได้รับการศึกษาในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดเขาสนใจกีฬาคริกเกต และละครมาก เขามีความชำนาญในกีฬาหลายชนิดและได้ก่อตั้งสโมสรในกรุงลอนดอน (London) หลายแห่งจนได้ชื่อว่า "ราชาสโมสร"ได้มีนิตยสารฉบับหนึ่งชื่อ "แวนิตี้แฟร์" ได้กล่าวว่า"เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษทีเดียวที่ชื่อเสียงของเขายิ่งใหญ่ในวงการสังคมสโมสร ซึ่งทุกคนเชื่อฟังโดยความเคารพ และเขาเก่งไม่มีใครเท่าเทียมได้ในการสร้างข้อบังคับ และเป็นผู้ชี้ขาดเกี่ยวกับปัญหาทั่วไปและกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่างๆจากลักษณะดังกล่าวนี้เราจะคิดไม่ได้หรือว่าเขาเป็นผู้วางกฎข้อบังคับกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกสุดถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม"แวนิตี้แฟร์ บอกให้ทราบว่า"เขาเป็นสหายคนสำคัญของท่านดยุคแห่งบิวฟอร์ด"ชีวิตในระยะหลังบอลด์วินได้ไปอาศัยอยู่ใกล้ๆกับวิหาร Tintern Abbey ห่างจากคฤหาสน์แบดมินตันไปทางตะวันตกประมาณ 32 กิโลเมตรเมื่ออยู่ที่นั่นเขาได้รับขนานนามว่า ท่านบิดาแห่งทินเทินขณะนั้นเขาแก่ลงมากความชราก็ไม่ได้ทำให้เขาลดหย่อนงานอันเป็นที่ยอมรับกันเลย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)