วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

กติกาการเล่นเบื้องต้น


กติกาการเล่นเบื้องต้น

   1. การออกนอกเส้น มีการกำหนดเส้นออกแต่งต่างกันในกรณีเล่นเดี่ยวและเล่นคู่
   2. การเสิร์ฟลูก ตามกติกา ที่ถูกต้อง คือ
         1. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าข้อมืออย่างเห็นได้ชัด
         2. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าเอวอย่างเห็นได้ชัด
         3. ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา หรือเสริฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ การเสริฟ ต้องเสริฟไปด้วยจังหวะเดียว
         4. ขณะเสิร์ฟ ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
         5. การเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง ต้องให้แร็กเก็ตสัมผัสกับหัวลูกก่อน หากโดนขนก่อนถือว่าผิดกติกา
   3. ขณะตีลูกโต้กัน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือไม้แบดไปสัมผัสกับเน็ท
   4. ห้ามตีลูกที่ฝั่งตรงข้ามโต้กลับมา ในขณะที่ลูกยังไม่ข้ามเน็ทมายังแดนเรา(Over net)
สหพันธ์ แบดมินตันนานาชาติ ( IBF) ได้กำหนดให้ ทดลองใช้ระบบการนับคะแนนการแข่งขันกีฬาแบดมินตันใหม่ ในระบบ 3 x 21 คะแนน ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป



กติกาการนับคะแนนแบตมินตัน

1. แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม
2. ทุกประเภทของการแข่งขัน  ฝ่ายที่ได้ 21 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นเมื่อได้ 20 คะแนนเท่ากันต้องนับต่อให้มีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน(การดิวส์) ฝ่ายใดได้คะแนนนำ 2 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ  แต่ไม่เกิน 30 คะแนน หมายความว่าหากการเล่นดำเนินมาจนถึง 29 คะแนนเท่ากัน  ฝ่ายใดได้ 30 คะแนนก่อน เป็นผู้ชนะ
3. ฝ่ายชนะเป็นฝ่ายส่งลูกต่อในเกมต่อไป
4. ฝ่ายชนะการเสี่ยงสิทธิ์เป็นฝ่ายส่งลูกได้ก่อน  หากฝ่ายตรงข้ามทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น  ผู้เลือกส่งลูกก่อนจะได้คะแนนนำ 1-0 และได้ส่งลูกต่อ  แต่หากผู้ส่งลูกทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น  ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนตามมาทันทีเป็น 1-1 และฝ่ายตรงข้ามจะได้สิทธิ์ส่งลูกแทน  ดำเนินเช่นนี้ต่อไปจนจบเกม
5. ประเภทคู่ให้ส่งลูกฝ่ายละ 1 ครั้ง ตามคะแนนที่ได้  ขณะที่เปลี่ยนฝ่ายส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคี่ ผู้อยู่คอร์ดด้านซ้ายเป็นผู้ส่งลูก  หากคะแนนเป็นจำนวนคู่ผู้อยู่คอร์ดด้านขวาเป็นฝ่ายส่งลูก

มารยาทของผู้ตัดสิน

1. เมื่อเข้าสู่สนามแข่งขัน ต้องแต่งกายให้ถูกต้องตามลักษณะของการเป็นผู้ตัดสิน เครื่องแต่งกายต้องประณีต และสะอาด วางตัวในลักษณะสุภาพอ่อนน้อม แต่สำรวมไม่หลอกล้อกับผู้หนึ่งผู้ใด แสดงออกถึงอาการที่จะให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยท่าทีกระฉับกระเฉง ไม่ใช่ประหม่าหรือลุกลี้ลุกลน
2. ระหว่างการแข่งขัน หลีกเลี่ยงการพบปะสนทนากับผู้เล่น ผู้ฝึกสอน ตลอดจนผู้คุ้นเคยอื่น ๆ พยายามตั้งใจจริงในการปฏิบัติหน้าที่ในการตัดสิน ตัดสินใจด้วยความเด็ดขาดถูกต้อง แสดงออกถึงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่แสดงอารมณ์ออกมา ควรใช้วาจาเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นพูดเฉพาะหลักการเท่านั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ฟัง และไม่ควรโต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะเป็นการลดฐานะของตนเอง อันเป็นการทำให้เสื่อมศักดิ์ศรี และเป็นการนำไปสู่การทะเลาะวิวาทหรือทำให้เกิดคับข้องขุ่นเคืองใจได้
3. เมื่อจบการแข่งขัน หลังจากตรวจใบนับคะแนนเรียบร้อยแล้ว ควรรีบออกจากสนามแข่งขันทันที ไม่ควรรีรออยู่เพื่อขออภัยในความผิดพลาดในการตัดสิน หรือเพื่อแสดงความยินดีหรือเสียใจต่อคู่แข่ง ไม่ควรแสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีการถกเถียงกัน ในกรณีที่มีผู้สื่อข่าวขอสัมภาษณ์ ควรให้ความร่วมมือด้วยอัธยาศัยอันดี โดยชี้แจงอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมในขอบเขตของการเป็นผู้ตัดสิน แต่ไม่ควรแสดงความคิดเห็นที่ซ้ำเติม หรือก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

ประวัดแบดมินตัน

ประวัติแบดมินตัน

แบดมินตัน (Badminton) เป็นกีฬาที่ได้รับการวิจารณ์เป็นอย่างมากเพราะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดถึงที่ มาของกีฬาประเภทนี้ คงมีแต่หลักฐานบางอย่างที่ทำให้ทราบว่ากีฬาแบดมินตันมีเล่นกันในยุโรป โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษตอนปลายศตวรรษที่ 17 และจากภาพสน้ำมันหลายภาพได้ยืนยันว่ากีฬาแบดมินตันเล่นกันอย่างแพร่หลายใน พระราชวงศ์ของราชสำนักต่างๆ ในทวีปยุโรป แม้ว่าจะเรียกกันภายใต้ชื่ออื่นก็ตาม ประวัติของกีฬาแบดมินตันบันทึกได้แน่นอนในปี พ.ศ. 2413 ปรากฏว่ามีการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมืองปูนา (Poona) ในประเทศอินเดีย เป็นเมืองเล็กๆ ห่างจากเมืองบอมเปย์ประมาณ 50 ไมล์โดยได้รวมการเล่นสองอย่างเข้าด้วยกันคือ การเล่นปูนาของประเทศอินเดียและการเล่นไม้ตีกับลูกขนไก่ (Battledore Shuttle Cock) ของยุโรป ในระยะแรกๆการเล่นจะเล่นกันเพียงแต่ในหมู่นายทหารของกองทัพและสมาชิกชนชั้นสูงของอินเดียจนกระทั่งมีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่เมืองปูนานำการเล่นตีลูกขนไก่นี้กลับไปอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้างขวาง ณคฤหาสน์แบดมินตัน (Badminton House) ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดที่กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี พ.ศ. 2416 เกมกีฬาตีลูกขนไก่เลยถูกเรียกว่าแบดมินตัน ตามชื่อคฤหาสน์ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดตั้งแต่นั้นมากีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบภาคพื้น ยุโรปเพราะเป็นเกมที่คล้ายเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึกโดยไม่ต้องกังวลต่อลมหรือหิมะในฤดูหนาว ชาวยุโรปที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกาได้นำกีฬาแบดมินตันไปเผยแพร่ รวมทั้งประเทศต่างๆในทวีปเอเชียและออสเตรเลียที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ต่างนำเกมแบดมินตันไปเล่นยังประเทศของตนอย่างแพร่หลายเกมกีฬาแบดมินตันจึงกระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย

     การเล่นแบดมินตันในระยะแรกๆ มิได้มีกฎเกณฑ์แต่เป็นเพียงตีโต้ลูกกันไปมาไม่ให้ลูกตกพื้นเท่านั้นเส้นแบ่งแดนก็ใช้ตาข่ายผูกโยงระหว่างต้นไม้สองต้นไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต่ำสูง เล่นกันข้างละไม่น้อยกว่า 4 คน ส่วนมาจะเล่นทีมละ 6 ถึง 9 คนผู้เล่นแต่งตัวตามสบาย สุภาพสตรีสวมกระโปรงยาวทั้งชุดใส่หมวกติดผ้าลายลูกไม้ สุภาพบุรุษแต่งสากลผูกโบว์ไทด์เพราะกีฬาแบดมินตันได้รับความนิยมแพร่หลายออกไปตามบ้านข้าราชการ พ่อค้าคหบดี และประชาชน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2436 ได้มีการจัดตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษขึ้นซึ่งนับเป็นสมาคมแบดมินตันแห่งแรกของโลกมีการจัดแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่าออลอิงแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 เป็นต้นมาได้ตั้งกฎเกณฑ์ของสนามมาตรฐานขึ้นคือ ขนาดกว้าง 22 ฟุต ยาว 45 ฟุต (22 x 45) เป็นสนามขนาดมาตรฐานประเภทคู่ที่ใช้ในปัจจุบันตั้งแต่นั้นมาการปรับปรุงดัดแปลงในเรื่องอุปกรณการเล่นได้กระทำให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลกประเทศในเอเซียอาคเนย์ที่มีการเล่นกีฬาแบดมินตันและได้รับความนิยมสูงสุดคืออินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทยนอกจากประเทศอังกฤษแล้วการเล่นที่น่าดูมีขึ้นที่ประเทศแคนาดาและเดนมาร์กด้วยเหตุผลที่ควรสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลกในกีฬาประเภทนี้การแข่งขันระหว่างประเทศจึงได้จัดให้มีขึ้นในปี พ.ศ. 2445 และตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาจำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแบดมินตันระหว่างประเทศมีมากว่า 31 ประเทศ แบดมินตันได้กลายเป็นเกมกีฬาที่เล่นกันระหว่างชาติโดยมีการยกทีมข้ามประเทศเพื่อแข็งขันระหว่างชาติในทวีปยุโรป ในปี พ.ศ.2468 กลุ่มนักกีฬาของประเทศอังกฤษได้แข่งขันกับกลุ่มนักกีฬาประเทศแคนาดาห้าปีหลังจากนั้นพบว่าประเทศแคนาดามีสโมสรสำหรับฝึกแบดมินตันมาตฐานแทบทุกเมือง
     ในปี พ.ศ. 2477 สมาคมแบดมินตันของประเทศอังกฤษเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ โดยมีชาติต่างๆ อีก 8 ชาติคือ แคนาดา เดนมาร์ก อังกฤษฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สก๊อตแลนด์ และเวลล์โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่ในเครือสมาชิกกว่า60 ประเทศที่ขึ้นต่อสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ (I.B.F.) สหพันธ์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดและควบคุมกติการะเบียบข้อบังคับต่างๆของการแข่งขันกีฬาแบดมินตันทั่วโลก
     ในปี พ.ศ. 2482 Sir George Thomas นักแบดมินตันอาวุโสชาวอังกฤษเป็นผู้มอบถ้วยทองราคา 5,000 ปอนด์เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศประเภทชายในการแข่งขันแบดมินตันระหว่างประเทศ ซึ่งสหพันธ์แบดมินตันได้รับไว้และดำเนินการตามประสงค์นี้แม้ว่าตามทางการจะเรียกว่า การแข่งขันชิงถ้วยชนะเลิศแบดมินตันระหว่างประเทศแต่นิยมเรียกกันว่า โธมัสคัพ (Thomas Cup) การแข่งขันจะจัดขึ้นทุกๆ 3 ปีโดยสหพันธ์ได้แบ่งเขตการแข่งขันของชาติสมาชิกออกเป็น 4 โซน คือ 1. โซนยุโรป 2. โซนอเมริกา 3. โซนเอเชีย 4. โซนออสเตรเลเซีย (เดิมเรียกว่าโซนออสเตรเลีย)
วิธีการแข่งขันจะแข่งขันชิงชนะเลิศภายในแต่ละโซน ขึ้นก่อนแล้วให้ผู้ชนะเลิศแต่ละโซนไปแข่งขันรอบอินเตอร์โซนเพื่อให้ผู้ชนะเลิศทั้ง 4 โซนไปแข่งขันชิงชนะเลิศกับทีมของชาติที่ครอบครองดถ้วยโธมัสคัพอยู่ซึ่งได้รับเกียรติไม่ต้องแข่งขันในรอบแรกและรอบอินเตอร์โซนชุดที่เข้าแข่งขันประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 4 คนการที่จะชนะเลิศนั้นจะตัดสินโดยการรวมผลการแข่งขันของประเภทชายเดี่ยว 5 คุ่และประเภทชายคู่ 4 คู่ รวม 9 คู่ และใช้เวลาการแข่งขัน 2 วันการแข่งขันชิงถ้วยโธมัสคัพครั้งแรก จัดให้มีขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2491-2492 ต่อมาในการแข่งขันแบดมินตันโธมัสคัพ ครั้งที่ 8 ปีพ.ศ. 2512-2513 สหพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการแข่งขันเล็กน้อยโดยให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นเข้าร่วมแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนด้วยโดยวิธีการจับสลากแล้วแบ่งออกเป็น 2 สายผู้ชนะเลิศแต่ละสายจะได้เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศโธมัสคัพรอบสุดท้ายต่อไปสาเหตุที่สหพันธ์เปลี่ยนแปลงการแข่งขันใหม่นี้เนื่องจากมีบางประเทศที่ชนะเลิศได้ครอบครองถ้วยโธมัสคัพไม่รักษาเกียรติที่ได้รับจากสหพันธ์ไว้โดยพยายามใช้ชั้นเชิงที่ไม่ขาวสะอาดรักษาถ้วยโธมัสคัพไว้ครั้งแล้วครั้งเล่าสหพันธ์จึงต้องเปลี่ยนข้อบังคับให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นลงแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนดังกล่าวด้วย 
     กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายขึ้นแม้กระทั่งในกลุ่มประเทศสังคมนิยมก็ได้มีการเล่นเบดมินตันอย่างกว้างขวางและมีการบรรจุแบดมินตันเข้าไว้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เซียพเกมส์(ซีเกมส์ในปัจจุบัน) การแข่งขันกีฬาของประเทศในเครือจักภพสหราชอาณาจักรรวมทั้งการพิจารณาแบดมินตันเข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันว่า แบดมินตันได้กลายเป็นกีฬาสากลแล้วอย่างแท้จริง
ประวัติผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตัน จอห์นลอเรน บอลด์วิน
     ผู้ริเริ่มกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกโดยจัดการเล่นที่คฤหาสน์ แบดมินตัน (Badmintion House) ในปราสาทของท่านดยุค แห่งบิวฟอร์ดในกลอสเตอร์ชาร์ ประเทศอังกฤษ บอลด์วินมีความคิดเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ว่ากันประมาณ 60 ปีกว่า ของคริสต์ศตวรรษที่แล้ว บอลด์วิน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2352 ได้รับการศึกษาในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดเขาสนใจกีฬาคริกเกต และละครมาก เขามีความชำนาญในกีฬาหลายชนิดและได้ก่อตั้งสโมสรในกรุงลอนดอน (London) หลายแห่งจนได้ชื่อว่า "ราชาสโมสร"ได้มีนิตยสารฉบับหนึ่งชื่อ "แวนิตี้แฟร์" ได้กล่าวว่า"เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษทีเดียวที่ชื่อเสียงของเขายิ่งใหญ่ในวงการสังคมสโมสร ซึ่งทุกคนเชื่อฟังโดยความเคารพ และเขาเก่งไม่มีใครเท่าเทียมได้ในการสร้างข้อบังคับ และเป็นผู้ชี้ขาดเกี่ยวกับปัญหาทั่วไปและกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่างๆจากลักษณะดังกล่าวนี้เราจะคิดไม่ได้หรือว่าเขาเป็นผู้วางกฎข้อบังคับกีฬาแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกสุดถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม"แวนิตี้แฟร์ บอกให้ทราบว่า"เขาเป็นสหายคนสำคัญของท่านดยุคแห่งบิวฟอร์ด"ชีวิตในระยะหลังบอลด์วินได้ไปอาศัยอยู่ใกล้ๆกับวิหาร Tintern Abbey ห่างจากคฤหาสน์แบดมินตันไปทางตะวันตกประมาณ 32 กิโลเมตรเมื่ออยู่ที่นั่นเขาได้รับขนานนามว่า ท่านบิดาแห่งทินเทินขณะนั้นเขาแก่ลงมากความชราก็ไม่ได้ทำให้เขาลดหย่อนงานอันเป็นที่ยอมรับกันเลย